ประวัติความเป็นมา

          บางแก้วเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก สภาพของหมู่บ้าน ตั้งอยู่บนฝั่งคลองบางแก้วพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ในฤดูฝนน้ำจะท่วมทุกปี ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ ทำสวน และจับปลา ความเป็นมาตั้งแต่อดีต-จนถึงปัจจุบัน สมัยนั้นบ้านบางแก้วยังเป็นถิ่นฐานที่ทุรกันดารมาก ความเจริญยังไม่เข้าถึง สภาพพื้นที่ในหมู่บ้านยังเป็นป่าดงดิบ มีต้นไม้นานาพรรณอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น พง แขม และไผ่ แต่ที่ดูแปลกตาหรือมีมากกว่าพันธุ์ไม้อย่างอื่น ก็คือ ต้นระกำ หรือคนในสมัยนั้นเรียกว่าป่าระกำ ด้วยเหตุนี้เองชาวบ้านในพื้นที่นี้ จึงตั้งชื่อ อำเภอบางระกำ นอกจากนี้แล้วในสมัยนั้นยังมีสัตว์ป่าเป็นจำนวนมาก เช่น เก้ง กวาง ชะนี และสุนัขจิ้งจอก

          ต่อมาเมื่อมีผู้คนเข้ามาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านนี้มากขึ้นพวกเขาจึงได้ช่วยกันสร้างวัดโดยใช้วัสดุง่ายๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น ซึ่งเรียกว่า วัดบางแก้ว โดยมีหลวงปู่มาก เมธาวี เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 3 ของวัด ในขณะนั้นในแถบนั้นกล่าวขานกันว่าท่านเป็นนักเทศน์ที่สามารถเทศน์แสดงธรรมได้อย่างยอดเยี่ยม และท่านยังมีวิชาอาคมที่เลื่องชื่อลือไกลท่านมีเมตตาและจิตโอบอ้อมอารีต่อสัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในวัดเป็นอย่างมาก มีชาวบ้านในแถบนั้นเล่าให้ฟังว่ามีอยู่ครั้งหนึ่งที่ตานิ่มเป็นชาวบ้านที่อยู่เหนือวัดบางแก้วขึ้นไป  เขาเป็นคนนับถือหลวงปู่มากได้นำสุนัขตัวเมียพันธุ์ใหญ่ ขนยาวสีดำ สวยงามมากมาให้หลวงปู่ตัวหนึ่ง พอถึงเดือนสิบสองแม่สุนัขเริ่มเป็นสัด(เป็นสัดหมายถึงอาการที่สุนัขพร้อมที่จะผสมพันธุ์) ได้ไปผสมพันธุ์กับสุนัขจิ้งจอกข้างนอกวัดทำให้มีลูกสุนัขครอกแรก ขนยาวสีดำปนสีประดู่ มีรูปร่างขนาดใหญ่ติดแม่ ปากแหลมค่อนข้างยาว หางเป็นพวงติดไปทางพ่อลูกสุนัขที่เกิดใหม่จึงมีลักษณะเด่นทั้งพ่อและแม่รวมกัน ต่อมาได้มีชาวบ้านจากจังหวัดอ่างทอง สุพรรณบุรี และนครปฐม ได้อพยพมาอยู่ในหมู่บ้านบางแก้วกันมากขึ้น จึงทำให้หมู่บ้านที่เคยเงียบสงัดคึกคักและเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว สุนัขก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อสุนัขของหลวงปู่ผสมกับสุนัขต่างถิ่น จึงทำให้สายพันธุ์ระหว่างสุนัขป่ากับสุนัขบ้านจางลงมาทางสุนัขบ้านมากขึ้น ในปัจจุบันสุนัขบางแก้วได้กระจายไปอยู่เกือบทุกภูมิภาคของประเทศไทยแล้ว โดยเฉพาะที่กรุงเทพฯ ได้มีนักเลี้ยงสุนัขเป็นจำนวนมาก ส่วนที่รองลงมามีชลบุรี ภูเก็ต และอีกหลายๆ จังหวัดในประเทศไทย           สุนัขไทย พันธุ์บางแก้ว ของจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นสุนัขไทยพันธุ์เดียวในประเทศไทยที่มีขนยาวอ่อนนิ่มลักษณะของขนเป็นสองชั้น ขนหางเป็นพวงคล้ายสุนัขป่า มีขนยาวตามหน้าอกและลำคอเป็นแผงคล้ายขนแผงของสิงโตมีขนแผงยาวกลางหลัง ขนที่หลังขาหน้ายาวตลอดคล้ายขนของขาสิงห์ในวรรณคดีขาหลังก็มีบ้างแต่ยาวน้อยกว่าขาหน้า มีขนในใบหูและรอบๆ กกหูมีขนตายาวตามนิ้วอุ้งเท้า ซึ่งความแตกต่างจากสุนัขไทย พื้นบ้านที่มีมาแต่เดิม มีอุปนิสัยที่มีความปราดเปรียวว่องไว เฉลียวฉลาดซื่อสัตย์รักเจ้าของ รักถิ่นฐาน ฝึกหัดให้เชื่อฟังคำสั่งได้ดีไม่แพ้สุนัขใช้งานของต่างประเทศมีนิสัยค่อนข้าง