การกราดไก่
ในการเลี้ยงไก่ชนเพื่อนำออกชน เรามีไก่เก่งอย่างเดียวยังไม่พอ ความสมบูรณ์และแข็งแรงของไก่ก็เป็นส่วนส่วนสำคัญอีกอย่างหนึ่ง การราดน้ำและกราดแดดจึงมีความสำคัญไม่แพ้กันกับการออกกำลังกายหรือการกินอาหารบำรุง ขณะเดียวกันการกราดน้ำและกราดแดดก็มีโทษเช่นกันเพราะตามนิสัยของไก่ไม่ชอบการกราดน้ำเลยถ้าไม่มีเทคนิคในการกราดน้ำอาจเป็นโทษมากกว่าจะเป็นประโยชน์ก็ได้
1. การกราดน้ำไก่
การกราดน้ำไก่ชนไม่ว่าจะใช้น้ำเย็นหรือน้ำอุ่น(สมุนไพร) จะแตกต่างกันตรงน้ำเท่านั้นหรือหลักการกราดน้ำไก่จะต้องดูดินฟ้าอากาศคือฟ้าต้องโปร่ง ถ้าครึ้มฝนเราอย่านำไก่ออกมากราดน้ำเด็ดขาด เพราะจะมีแต่โทษ ไก่จะหนาวสั่นอาจถึงป่วยเป็นหวัดได้ ประโยชน์จะไม่มีเลยถ้าฝนตก ดังนั้นถ้าจะเริ่มทำการกราดน้ำโดยมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 นำไก่ที่ต้องการออกมาดูข้าวในกระเพาะไก่ว่ามีอยู่หรือไม่ ถ้าไม่มีข้าวเลยต้องให้กินข้าวเปลือกประมาณ ¼ กระเพาะ ถ้าไม่มีข้าวเมื่อกราดน้ำแล้วไก่จะหนาวมากไป เพราะกระเพาะไม่มีอะไรที่จะเผาผลาญความร้อนให้แก่ร่างกายเลย ดังนั้นในการกราดน้ำไก่จึงจำเป็นต้องมีข้าวเปลือกในกระเพาะพอประมาณจากนั้นนำเอาถุงพลาสติกมาสวมที่ปีกทั้งสองข้างเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเปียกปีกไก่ ถ้าน้ำเปียกปีกไก่จะทำให้ใยปีกไม่แตกเมื่อใยปีกไม่แตกไก่จะบินไม่ดีเพราะปีกไม่กินลมหรือกินลมน้อยลงจึงทำให้บินไม่สูง
ขั้นที่ 2 จะกราดน้ำตรงไหนก่อนก็ได้ เช่น ที่สร้อยคอ ขนตรงอก หรือใต้ปีกแต่ต้องกราดน้ำโดยใช้ผ้าเช็ดตามขนไก่ อย่าย้อนขนไก่เด็ดขาดเพราะจะทำให้ขนไก่หักได้ ที่ไม่ให้เปียกเด็ดขาดคือ ปีกและหางไก่ แล้วนำผ้าแห้งมาเช็ดอีกทีหนึ่งจนขนไก่แบจะแห้งอย่าปล่อยให้น้ำแฉะหยดเด็ดขาด การเช็ดด้วยผ้าแห้งเท่ากับการนวดกล้ามเนื้อไก่ไปในตัวด้วย
ขั้นที่ 3 นำไก่ที่เช็ดตัวแห้ง(พอหมาด) ไปนาบกระเบื้อง การนาบกระเบื้องจะทำให้หนังไก่หน้าและเหนี่ยวมากยิ่งขึ้น โดยนำกระเบื้องมาเผาไฟให้ร้อน (สมัยนี้ใช้กระเบื้องที่ทำขายทั่วไปของร้ายขายอุปกรณ์ไก่ชน) หลังจากนั้นผ้ากราดน้ำไก่ชุบน้ำแล้วบีบน้ำออกไปคลึงลงบนแผ่นกระเบื้องที่ร้อนมาทดลองกับขาของเราดูว่าร้อนเกินไปหรือไม่ ถ้าพอดีแล้วก็นาบลงบนอกไก่ คอ ปีก ปั้นขา จนทั่วทั้งตัวทำทุกอย่างนี้ทุกครั้งที่กราดน้ำจะทำให้หนังไก่หนาและเหนียวขึ้นทุกที
ขั้นที่ 4 นำไก่ที่ลงกระเบื้องแล้วไปลงขมิ้นที่ผสมปูนไว้ครั้งแรก ควรลงทั้งตัวโดยใช้แปรงสีฟันจุ่มขมิ้นที่ผสมปูน แล้วแปรงไปตามขนไก่ (อย่าทวนขนไก่เด็ดขาดเพราะขนไก่จะหัก) ทุกๆ เส้นขนจนทั่วทั้งตัว ยกเว้น ปีกไก่กับหางไก่ ครั้งที่ 2 หรือครั้งต่อๆ ไป ไม่ต้องลงทั้งตัวก็ได้ลงเฉพาะส่วนที่ไก่จะถูกคู่ต่อสู้ตีเท่านั้น เช่น หน้าอก ปั้นขา ปีก เป็นต้น แล้วถอดถุงพลาสติกออกนำไปใส่สุ่มตากแดดพร้อมกินข้าวเปลือกที่เตรียมไว้ให้จนอิ่มเป็นการเสร็จสิ้นการกราดน้ำไก่ชน
ข้อควรระวัง เครื่องมือในการกราดน้ำไก่ เช่น ผ้าเช็ดน้ำไก่ ขนไก่ที่ใช้ปั่นคอแต่ละตัวอย่าใช้ปนกัน เพราะจะทำให้ติดโรคกันได้หรือทางที่ดีควรป้องกันไว้คือต้มทุกครั้งหลังใช้จะดีมาก
ข้อดีและข้อเสียของการกราดน้ำเย็น
ข้อดี
1. ขนของไก่ไม่ค่อยเสีย ถึงจะเสียก็นานกว่าการกราดน้ำด้วยน้ำอุ่น
2. เลี้ยงไก่เข้าชนได้นานถึงแม้จะค้างนัด 1-2 ครั้งก็ยังชนได้เพราะไม่ค่อยดึงตัวเหมือนกับการเลี้ยงด้วยน้ำอุ่น(สมุนไพร)
3. ไก่จะบิน บินสูงเพราะไม่ตึงตัวเหมือนกับการเลี้ยงด้วยน้ำอุ่น(สมุนไพร)
4. ค่าใช้จ่ายน้อย เพราะไม่ต้องไปหาสมุนไพรมาต้มน้ำและเสียเวลาน้อยด้วยเพราะตักน้ำมาจากโอ่งก็กราดได้เลย
ข้อเสีย
1. ความแข็งแกร่ง น้อยกว่าการเลี้ยงด้วยน้ำสมุนไพร(สมุนไพร)
2. ผิวหรือหนังไก่ไม่หนาเหมือนกับการกราดน้ำด้วยน้ำอุ่น
3. ความทนทานสู้กับการกราดน้ำอุ่นไม่ได้เพราะเมื่อถูกคู่ต่อสู้ตีบาดแผลเท่ากันกราดด้วยน้ำเย็นจะเจ็บกว่าเพราะหนังบางกว่า
ข้อดีและข้อเสียของการกราดน้ำอุ่น
ข้อดี
1. มีความแข็งแกร่ง เพราะสมุนไพรจะช่วยสร้างกล้ามเนื้อไก่ให้แข็งแรง ทั้งกล้ามเนื้อปีก กล้ามเนื้อขาทำให้ไก่มีความแข็งแกร่งไปทั้งตัว
2. ผิวหรือหนังไก่จะหนา ทนต่อบาดแผลถูกคู่ต่อสู้คดีได้ดีกว่าน้ำเย็น
3. มีความอดทนเพราะถูกคู่ต่อสู้ตีแล้วไม่ค่อยเจ็บทำให้แพ้ยาก ถ้าบาดแผลเท่ากันอาจจะชนะได้
ข้อเสีย
1. ขนของไก่ชนจะเสียง่าย เช่น หัก กรอบ ขนไม่สวยเหมือนกราดด้วยน้ำเย็นขนไม่เป็นมันคล้ายกับไก่ขนจะหลุด จึงทำให้นำไก่เข้าชนไม่ได้มากครั้ง ถ้าไก่ชนชนะอาจจะเข้าชนได้ 1-2 ครั้ง เท่านั้นถ้ากราดน้ำด้วยน้ำอุ่น ถ้ากราดด้วยน้ำเย็นอาจชนได้ถึง 3-4 ครั้งถ้าชนะ
2. ถ้าเลี้ยงแล้วค้างนัด คือหาคู่ไม่ได้จะค้างได้นัดเดียว จะต้องนำไก่ไปปล่อยให้เล่นฝุ่นประมาณ 1 สัปดาห์ หรือ 1-10 วัน แล้วนำมาฉะหน้าใหม่(ซ้อมใหญ่ประมาณ 1 อัน) จึงจะนำมาเลี้ยงเข้าชนใหม่ได้ ไม่เหมือนกับไก่ที่กราดด้วยน้ำเย็นจะเลี้ยงต่อไปเลย
3. ไก่ชนที่กราดด้วยน้ำอุ่น (สมุนไพร) นี้ในยกแรกจะบินไม่ค่อยดีเพราะตัวไก่จะตึงแต่พอยกที่ 2-3 จะค่อยๆ บินดีขึ้น จะตรงกันข้ามกับไก่ที่กราดด้วยน้ำเย็น
4. เสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลา เพราะไปหาสมุนไพรหม้อเตามาต้ม และต้องต้มไว้ข้ามวันข้ามคืนคือจะกรวดน้ำเช้านี้ จะต้องต้มสมุนไพรไว้ก่อน 1 วัน
สูตรการต้มน้ำยาสมุนไพรเพื่อกราดน้ำไก่ชน
1. ตะไคร้ เอามาทั้งต้นและเหง้า เพราะตะไคร้จะช่วยขับลมแก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับนิ้ว แก้ปวดหลัง ขับเหงื่อและช่วยเจริญอาหาร
2. ใบส้มป่อย ต้มน้ำแล้วดื่มกินจะแก้ขับเสมหะเป็นยาถ่ายอ่อนๆ ฟอกโลหิต แก้โรคตา แก้โรคผิวหนัง กราดรังแค ถ้าเป็นแผลจะช่วยรักษาแผลได้ด้วย
3. ขมิ้นชั้น ใช้แก้โรคตาบวม ตาแดง ขับกลิ่นสกปรกในร่างกาย แก้ผดผื่นคันสมานแผล แก้ท้องร่วงและยังช่วยกำจัดไรในไก่ชนอีกด้วย เพราะไรจะกัดกินเลือดไก่ทำให้ไก่สมบูรณ์ แก้โรคผอมแห้งของไก่ก็ได้
4. ใบมะขามเปรี้ยว จะช่วยในการขับเลือดลมในลำไส้ ฟอกโลหิต แก้บิด ขับเสมหะ แก้ท้องผูก แก้กระหายน้ำ แก้หวัดคัดจมูกในไก่ชน
5. บอระเพ็ด ช่วยแก้พิษฝีดาษไก่ แก้พิษไข้ หรือแก้โรคแทรกซ้อนของไข้ทรพิษ บำรุงกำลัง ทำให้เจริญอาหาร ทำให้เลือดเย็น และยังแก้ร้อนดับกระหายได้ด้วย
6. ขมิ้นอ้อย แก้โรคตาแดง ตาแฉะ แก้มะเร็งในรังไข มะเร็งในต่อมน้ำเหลืองและมะเร็งต่อม ไธรอยด์ รักษาอาการของเลือดคลั่ง เลือดลมหมุนเวียนไม่สะดวก
7. ไพล เป็นตัวยาที่แก้เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำในไก่ เมื่อซ้อมมาใช้ไพลจะช่วยรักษาสมานแผลภายนอก ช่วยรักษาผิวหนังและบาดแผลที่เกิดจากคู่ต่อสู้ช่วยทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ทั้งยังเป็นพยาธิภายในได้อีกด้วย
8. เมื่อหาสมุนไพรทั้ง 7 อย่างได้อย่างละเท่าๆ นำมาหั่นแล้วใส่ผ้าขาวบาง(ผ้ามุ้ง) ห่อแล้วนำมาใส่น้ำพอเหมาะตั้งไฟต้มประมาณ 3-4 ชั่วโมงรินเอาเฉพาะน้ำมาใส่ลงในภาชนะสำหรับจะกราดน้ำไก่ให้นำสมุนไพรไก่(อย่าร้อน)จึงนำไปกราดน้ำไก่ชน สมุนไพรที่รินน้ำออกมาแล้วทิ้ง ต้มไปอีกโดยใส่น้ำลงไปต้มอีกอย่างเดิม จนกว่าสมุนไพรจะเจือจางจึงจะเปลี่ยนใหม่เหมือนเดิม ดังนั้นกราดน้ำไก่ด้วยน้ำอุ่น(สมุนไพร) จะลำบากและใช้เวลามากกว่านั้น
2. การกราดแดดไก่ชน
การกราดแดดไก่ชนนับว่าเป็นกิจกรรมหนึ่งที่จะต้องทำควบคู่กันไปกับการกราดน้ำไก่ชน การกราดแดดไก่ชนมีประโยชน์คือ
1. ทำให้ไก่แข็งแรง ทนทาน อีกทางหนึ่ง ถ้าไก่ชนที่เข้าชนขาดแดด จะสู้ไก่ที่กราดแดดมาอย่างดีไม่ได้ซึ่งนักเลี้ยงไก่รู้ดี ถ้าฝนตกบ่อยๆ ไก่กราดแดดไม่ได้นักชนไก่จะไม่นำออกมาตีเด็ดขาด
2. ช่วยควบคุมน้ำหนัก ไก่ชนจะมีน้ำหนักที่พอเหมาะกับรูปร่างของไก่นักเลี้ยงไก่จะต้องชั่งน้ำหนักเท่านั้น ส่วนวิธีที่ควบคุมน้ำหนักที่ดี คือกราดแดด
3. ช่วยให้หายหอบหรือเหนื่อย ไก่ที่กราดแดดสม่ำเสมอ เวลาที่เข้าชนในสังเวียนไก่จะไม่ค่อยหอบปลายยกไก่ที่หอบหรือเหนื่อยปลายยกเกิดจากกราดแดดไม่ถึงทำให้เสียกำลังในยกต่อไป หรือถ้าหอบในต้นๆ ยก อาจทำให้แพ้ได้เลยก็มี
4. แสงแดดทำให้กระทำให้กระดูกแข็งแรง เพราะได้รับวิตามินดี ที่ช่วยให้ไก่แข็งแรงขึ้นกว่าเดิม ไก่ที่ขาดแสงแดดอาจทำให้เป็นง่อนเปลี้ยได้
โทษของการกราดแดด
การกราดแดดเป็นวิธีการที่ผ่านการกราดน้ำแล้วโดยขังไว้ในสุ่มไก่ ระยะเวลาในการกราดแดดจะยาวเท่าไรไม่มีใครบอกได้ขึ้นอยู่กับแสงแดดและนิสัยของแก่แต่ละตัวด้วย ผู้เลี้ยงไก่ต้องคอยสังเกตดูว่าขณะที่กราดแดดอาการเป็นอย่างไร ถ้าเราเห็นว่าไก่ขนแห้งแล้วเริ่มอ้าปาก แสดงอาการหอบแล้วเดินรอบๆ สุ่มก็ควรนำไก่มาปั่นคอด้วยขนไก่แล้วนำเข้าร่ม พอหายหอบแล้วจึงเอาน้ำให้กิน ถ้าเราปล่อยให้ตากแดดหอบมากไปอาจตายได้ ถ้าไม่ตายก็จะแพ้ไก่ง่าย ดังนั้นการกราดแดดควรให้พอดี ถ้ากราดมากจะเกิดโทษมากกว่ามีประโยชน์