ลักษณะไก่ชนนเรศวร
ไก่ชนนเรศวร เป็นไก่ชนในสายพันธุ์ไก่เหลืองหางขาวดังคำกล่าวที่ว่า “ไก่เหลืองหางขาวไก่เจ้าเลี้ยง” จึงเป็นที่ต้องการของนักเลงไก่ปัจจุบันอย่างมากถึงกับพูดว่า “ไก่ชนเหลือหางขาวกินเหล้าเชื่อ” หมายความว่า ไก่เหลืองหางขาวเมื่อได้คู่ตีไม่ต้องมานั่งดูไปสั่งเหล้ามากินเชื่อก่อนได้ต้องชนะแน่ๆ ตำราไก่ชนของ เกรียงไกร ไทยอ่อน บอกว่าไก่เหลืองหางขาวเป็นไก่มีสกุลประวัติเด่นมาก มีลำหักโค่นดี แทงแม่นยำ อาจแทงเข้าตาหรือเข้ารูหูพอดี รูปร่างยาว 2 ท่อน สูงระหงดี สีสร้อยเป็นสีเหลือง ปากสีเหลือง เนื้อชมพูอมแดงแข้งเหลืองอมขาว เล็บและเดือยสีเหลืองอมขาว ซึ่งมีนักเลงไก่ชนหลายท่านได้ให้ความรู้เพิ่มเติมว่า ไก่เหลืองหางขาวต้องมีลักษณะดูเป็นพิเศษโดยทั่วไปอีก คือ
“หน้างอนบาง กลางหงอนสูง
สร้อยระย้า หน้านกยูง”
ไก่เหลืองหางขาว เป็นไก่ชนชั้นยอดเยี่ยมของทางภาคใต้ มีลักษณะคือ
“อกชั้น หวั้นชิด
หงอนบิด ปากร่อง
พัดเจ็ด ปีกสิบเอ็ด
เกล็ดยี่สิบสอง ถือเป็นไก่ชั้นเยี่ยม”
อกชั้น คือ อกเชิดท้ายลาด หวั้นชิด คือ ขั้วหางชิดบั้นท้ายก้นเชิงกราน หงอนบิด คือ หงอนไม่ตรง ปิดกระหม่อม ปากร่อง คือ ปากบนมีร่อง ตั้งแต่โคนตรงจมูก 2 ข้าง พัดเจ็ด คือ ขนหางพัดมีข้างละ 7 อัน ปีกสิบเอ็ด คือ ขนปีกท่อนนอกข้างละ 11 อัน เกล็ดยี่สิบสอง คือ เกล็ดนิ้วกลางมี 22 เกล็ด |
พ.ต. พิทักษ์ บัวเปรม สรุปลักษณะไก่ชนนเรศวร ไว้ดังนี้
สี : สร้อยเหลือง ทั้งสร้อยคอ สร้อยปีกและสร้อยหลังลักษณะ “สร้อยประบ่า ระย้าประกัน”
หาง : ยาวเหมือนฟ่อนข้าว กะลวยหางสีขาว ยาวโค้งไป ด้านหลังเหมือนปลายห้อยตกลงสวยงาม
หน้า : แหลมยาวหน้าเหมือนนกยูง
ปาก : ขาวอมเหลือง มีร่อง 2 ข้างจงอยปาก
ปีก : ใหญ่ยาว มีขนขาวแซมทั้งสองข้าง
อก : ใหญ่ ตัวยาว ยืนห่างกัน
ตะเกียบ : คู่แข็ง กระดูก
แข้ง : ขาวอมเหลือง เล็ก นิ้วยาวเรียว เดือยงอนคับช้อน
ขัน : เสียงใหญ่-ยาว
ยืน : ท่าผงาดดังราชสีห์
สายพันธุ์
1. เหลืองหางขาว ขนาด เพศผู้ มีน้ำหนักตั้งแต่ 3 กิโลกรัมขึ้นไป สูงตั้งแต่ 60 เซนติเมตรขึ้นไป(วัดจากใต้ปากล่างตั้งฉากถึงพื้นที่ยืน) และเพศเมีย มีน้ำหนักตั้งแต่ 2 กิโลกรัมขึ้นไป สูงตั้งแต่ 45 เซนติเมตรขึ้นไป
ลักษณะประจำพันธุ์ไก่ชนพระนเรศวร
ลักษณะเพศผู้หรือพ่อพันธุ์ไก่ชนนเรศวร
1. หัวมีขนาดเล็กคล้ายหัวนกยูง
1.1 กะโหลก กะโหลกอวบกลมยาว 2 ตอนส่วนหน้าเล็กกว่าส่วนท้าย
1.2 หน้า ลักษณะคล้ายหน้านกยูง มีสีแดงจัด
1.3 ปาก รูปร่างคล้ายปากนกแก้ว ลักษณะแข็งแรงมั่นคงมีสีขาวอมเหลือง โคนปากใหญ่ขอบปากและปลายปากคม ปากบนปิดปากล่างสนิท ปากบน มีร่องลึกตั้งแต่โคน ตรงรูจมูกถึงกลางปาก
1.4 หงอน ลักษณะหน้าหงอนบาง กลางหงอนสูงปลายหงอนกดกระหม่อม มีสีแดงจัด
1.5 จมูก รู้จมูกกว้างและยาว ฝาปิดรูจมูกมีสีขาวอมเหลือง
1.6 ตา มีขนาดเล็ก ตาขาวมีสีขาวอมเหลือง(ตาปลาหมอตาย) มีเส้นเลือดแดงโดยรอบหัวตาแหลมเป็นรูปตัววี(V)
1.7 หู หูทั้งสองข้างมีขน 3 สี คือ สีขาว สีเหลืองและสีดำ ขนหูมีมากปิดรูสนิท ไม่มีขี้หู
1.8 ตุ้มหู ตุ้มหูเป็นเนื้อสีแดงจัดเหมือนสีของหน้าขนาดไม่ใหญ่และบาน
1.9 เหนียง ต้องไม่มี(ลักษณะคางรัดเฟ็ด)
1.10 คิ้ว โหนกคิ้วนูนเป็นสันโค้งบังเบ้าตา
2. คอ คอยาว(2วง) และใหญ่ กระดูกข้อถี่
3. ลำตัว ลำตัวกลมยาว(ทรงหงส์) จับได้ 2 ท่อน
3.1 ไหล่ กระดูกซอกคอใหญ่ ไหลกว้าง
3.2 อก อกกว้างใหญ่ กล้ามเนื้อเต็ม กระดูกหน้าอกแข็งแรงโค้งเป็นท้องเรือและยาว(ไม่คดง้อ)
3.3 กระปุกหาง มีขนาดใหญ่ชิดกับบั้นท้าย
3.4 ต่อมน้ำมัน มีขนาดใหญ่ 1 ต่อม อยู่บนกระปุกหาง
3.5 ตะเกียบก้น เป็นกระดุก 2 ชิ้น ออกจากกระดูกซี่โครงคู่สุดท้ายยาวมาถึงก้น แข็งแรง หนา โค้งเข้าหากัน และอยู่ชิดกัน
4. ปีก
เมื่อกางออก จะเห็นกล้ามเนื้อปีกใหญ่หนาตลอดทั้งปีก เอ็นยึดกระดุกแข็งแรง ขนปีกขึ้นหนาแน่นชิดมีความยาวเรียงติดต่อกันจากหัวปีกถึงท้ายปีกและยาวถึงกระปุกถึงหาง 5. ขา ขาได้สัดส่วนกับลำตัว
5.1 ปั้นขา กล้ามเนื้อโคนขาใหญ่ทั้งสองข้าง เวลายืนโคนขาอยู่ห่างกัน
5.2 แข้ง มีลักษณะเรียวเล็กกลม สีขาวอมเหลือง
5.3 เดือย โคนมีขนาดใหญ่ ต่ำชิดนิ้วก้อย ส่วนปลายเรียวแหลมคม และหงอนเล็กน้อย มีสีขาวอมเหลือง
6. มีความสมบูรณ์ คือ นิ้วครบ ไม่คดงอ
6.1 นิ้ว มีลักษณะยาว ปลายเรียว มีทองปลิงใต้ฝ่าเท้านิ้วจะมีปุ่มตรงข้อลักษณะคล้ายเนื้อด้านนิ้วละ 3 ข้อ นิ้วกลาง มีเกล็ดตั้งแต่ 20 เกล็ดขึ้นไป ส่วนนิ้วก้อยจะสั้น 6.2 อุ้งตีน หนังอุ้งตีนบาง เวลายืนอุ้งตีนไม่ติดพื้น
6.3 เล็บ โค่นเล็บใหญ่ หนา แข็งแรง ปลายแหลม มีสีเหมือนแข้ง คือ ขาวอมเหลือง
7. ขน ขนเป็นมัน เงางามระยับ
7.1 ขนพื้น มีสีดำตลอดตัว
7.2 สร้อย มีลักษณะ “สร้อยประบ่า ระย้าประกัน” คือสร้อยคอ ขึ้นหนาแน่นยาวประบ่า สร้อยหลังยาวระย้าประถึงก้น มีลักษณะเส้นเล็กละเอียดปลายแหลม ส่วนสร้อยปีกและสนับปีกมีสีเดียวกัน
7.3 ปีกนอก (ตั้งแต่หัวปีกถึงกลางปีก) มีไม่น้อยกว่า 11 เส้น ปีกใน (ตั้งแต่กลางปีกถึงปลายปีก) มีสีดำไม่น้อยกว่า 12 เส้น ปีกไช(ปีกแซมปีกนอก)มีสีขาวไม่น้อยกว่า 2 เส้น เมื่อหุบปีกจะมองเห็นสีขาวแลบออกมาตามแนวยาวของปีก 2-3 เส้น เมื่อกางออกจะมองเห็นปีกนอกมีสีขาวเป็นจำนวนมาก
8. หาง ยาวเป็นพวงและเป็นพุ่มเหมือนฟ่อนข้าว
8.1 หางพัด มีข้างละไม่น้อยกว่า 7 เส้น มีสีขาวเป็นจำนวนมาก
8.2 หางกะลวย คือ ขนหางคู่กลางซึ่งเป็นหางเอกจะมีสีขาวปลอดทั้งเส้น มีขนรองหางกะลวยหรือหางรับไม่น้อยกว่า 6 เส้น และมีสีขาวเป็นจำนวนมาก
8.3 เป็นเส้นหนึ่งที่ต่อจากสร้อยหลัง มีลักษณะปลายแหลมปกคลุมกระปุกหาง ขอบขน มีสีเหลืองเหมือนสร้อยหลัง
9. หลัง หลังแผ่เบนขยายใหญ่
10. กิริยา
10.1 ท่ายืน ยืนยืดอด หัวปีกยก ท่าผงาดดังราชสีห์
10.2 ท่าเดิน และวิ่ง ท่าเดิน สง่าเหมือนท่ายืน เวลาเดินเมื่อยกเท้าขึ้นจะกำนิ้วทั้งหมด เมื่อย่างลงเกือบถึงพื้นดินจะแบนิ้วออกทั้งหมด เวลาวิ่งจะวิ่งด้วยปลายนิ้ว และวิ่งย่อขาโผตัวไปข้างหน้าเสมอ
10.3 ขันเสียงใหญ่ ยาว ชอบกระพือปีกและตีปีกแรงเสียงดัง
11. ลักษณะพิเศษ
11.1 พระเจ้าห้าพระองค์ คือ มีหย่อมกระ(มีขนสีขาวแซม๗ 5 แห่ง ได้แก่ 1. หัว 2.หัวปีกทั้งสอง 3.ข้อขาทั้งสอง
11.2 เกล็ดสำคัญ ได้แก่ เกล็ดพิฆาต เช่น เสือซ่อนเล็บ เหน็บชั้นใน ไชบาดาล เกล็ดผลาญศัตรู นอกจากนี้ยังมีเกล็ดกากบาท จักรนารายณ์ ฯลฯ
11.3 สร้อยคอ สร้อยหลัง สร้อยปีก (สนับปีก) เป็นสีเหลืองทอง เรียกว่า เหลืองประภัสสร
11.4 สร้อยสังวาล เป็นสร้อยบริเวณด้านข้างลำตัว มีลักษณะและสีเดียวกับสร้อย และสร้อยหลัง
11.5 ก้านขนสร้อยและหางกะลวย มีสีขาว บัวคล่ำ-บัวหงาย บริเวณด้านใต้โคนหางเหนือทวารหนักมีขนประสานกันลักษณะแหลมไปที่โคนหางดูคล้ายบัวคว่ำ-บัวหงาย
ลักษณะข้อบกพร่องของเพสผู้ของพ่อพันธุ์ไก่ชนนเรศวร
1. ข้อบกร่องร้ายแรง
1.1 กระดูกอกคด
1.2 นิ้วหรือเท้าบิดงอ
1.3 ไม่มีเดือย
1.4 แข้งไม่ขาวอมเหลืองตลอด(แข้งมีสีดำหรือแข้งลาย)
2. ข้อบกพร่องไม่ร้ายแรง
2.1 เท้าเป็นหน่อ
2.2 ปากไม่ขาวอมเหลืองตลอด หรือมีจุดดำที่โคนปาก
2.3 ในขณะหุบปีก ขนปีกมีสีขาวแลบออกมาทางด้านขวางคล้ายปีกนกพิราบ 2.4 เดือยหัก หรือตัดเดือย
2.5 สุขภาพไม่สมบูรณ์ (เจ็บป่วยหรือมีบาดแผล)
2.6 ลักษณะไม่เป็นไปตามลักษณะประจำพันธุ์ข้างต้น
ลักษณะเพศเมียหรือแม่พันธุ์ไก่ชนนเรศวร
1. หัว มีขนาดเล็กคล้ายหัวนกยูง ได้แก่ กะโหลก หน้า ปาก หงอน จมูก ตา หู และ คิ้ว มีลักษณะคล้ายเพศผู้หรือพ่อพันธุ์
2. คอ คอยาวใหญ่ และกระดูกคอถี่
3. ลำตัว มีลำตัวยาวกลม (ทรงหงส์) ได้แก่ ไหล อก กระปุกหาง ต่อมน้ำมัน มีลักษณะคล้ายเพศผู้หรือพ่อพันธุ์ ส่วนปลายของตะเกียบก้นห่างกันทำให้ไข่ดกและฟองโต
4. ปีก ลักษณะทั่วไปคล้ายกับเพศผู้หรือพ่อพันธุ์
5. ขา ได้สัดส่วนกับลำตัว ปั้นขาและแข็งมีลักษณะเช่นเดียวกับเพสผู้หรือพ่อพันธุ์
6. เท้า มีความสมบูรณ์ ทั้งนิ้ว อุ้งตีน และเล็บ
7. ขน ขนเป็นมันเงางาม ขนพื้นมีสีดำตลอดลำตัว มีขนสีขาวกระ(สีขาวแซม) บริเวณหัว หัวปีกและข้อเท้า(ลักษณะพระเจ้าห้าพระองค์) ขนปีกเมื่อหุบปีกมีสีขาวแลบออกมาตามแนวยาวของปีกไม่เกิน 2-3 เส้น เมื่อกางปีก จะมีสีขาวเป็นจำนวนมาก
8. หาง มีหางพัดเป็นจำนวนมาก ชี้ตรงหรือตั้งขึ้นเล็กน้อยมีสีขาวแซม
9. หลัง เช่นเดียวกับเพศผู้หรือพ่อพันธุ์
10. กิริยาท่าทาง การยืน เดิน และวิ่ง เช่นเดียวกับเพศผู้หรือพ่อพันธุ์แต่มีลักษณะความเป็นแม่พันธุ์เพศเมีย
11. ลักษณะพิเศษ มีลักษณะพระเจ้าห้าพระองค์ และเกล็ดที่สำคัญเช่นเดียวกับเพศผู้หรือพ่อพันธุ์ หากมีเดือยจะดีมากและมีสีขาวอมเหลืองด้วย
ลักษณะที่เป็นข้อบกพร่องของเพศเมียหรือแม่พันธุ์ไก่ชน
1.มีลักษณะที่เป็นข้อบกพร่องร้ายแรงเช่นเดียวพับพ่อพันธุ์เพศผู้ เช่น กระดุกอกคด เท้าเป็นหน่อ และนิ้วเท้าบิดงอ
2.ขนปีกและขนหาง มีจุดขาวมากเกินกว่า ร้อยละ 10
3. สุขภาพไม่สมบูรณ์ (เจ็บป่วยหรือมีบาดแผล)
4. ลักษณะที่ไม่เป็นไปตามลักษณะประจำพันธุ์ข้างต้น
ไก่เหลืองหางขาว ที่ประกาศรับรองพันธุ์
ไก่เหลืองหางขาว สมาคมฯ ได้กำหนดอุดมทัศนีย์ไว้ และประกาศรับรองพันธุ์ไปแล้ว 6 ชนิด คือ
*เหลืองใหญ่พระเจ้า 5 พระองค์ ขนพื้นตัวสีดำ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง สีเหลืองแก่ดังสีทองแท่ง ขนปีกในสีดำ ขนปีกนอกสีขาว ขนหางพัดสีดำปลายขาว ขนหางกะลวยสีขาวปลายดำ คู่กลางขาวปลอด ปาก-แข้ง-เล็บ-เดือย สีขาวอมเหลือง แบบสีงาช้าง ตาสีตาปลาหมอตาย (ขาวอมเหลืองอ่อน) ขนปิดรูสีเหลืองแบบสร้อย มีหย่อมกระพระเจ้า 5 พระองค์
*ไก่เหลืองรวกพระเจ้า 5 พระองค์ ลักษณะเหมือนไก่เหลืองใหญ่ทุกประการ แต่ต่างกันตรงสีขน สร้อยคอ สร้อยหลัง สร้อยปีก เป็นสีเหลืองกลางดังสีทองทา หรือสีไม้รวกแก่แห้ง
ไก่เหลืองโสนพระเจ้า 5 พระองค์ ลักษณะเหมือนไก่เหลืองใหญ่ทุกประการ แต่ต่างกันตรงสีขน สร้อยคอ สร้อยหลัง สร้อยปีก เป็นสีเหลืองอ่อนดังสีทองเปลว(ทองปิดพระ) หรือสีดอกโสน หรือดอกคูณ
*เหลืองเลาพระเจ้า 5 พระองค์ ลักษณะเหมือนเหลืองใหญ่ เหลืองรวก เหลืองโสนทุกประการ ต่างกันตรงสร้อยคอ สร้อยหลัง สร้อยปีก โดยโคนสร้อยจะเป็นสีขาว ปลายสร้อยจะเป็นสีเหลือง ส่วนไก่เหลืองพระเจ้า 5 พระองค์ตัวอื่นๆ โคนสร้อยจะเป็นสีดำปลายเหลือง
*ไก่เหลืองทับทิม ลักษณะจะเหมือนเหลืองทั้ง 4 ที่กล่าวมา ต่างกันตรงสร้อยคอ สร้อยหลัง สร้อยปีก โคนสร้อย สีดำปลายสร้อยสีเหลืองมีจุดขาวอมเหลืองอยู่ปลายสร้อย เรียกว่า “ทับทิม หรือ ดาวเรือง” ไม่มีหย่อมกระพระเจ้า 5 พระองค์
*ไก่เหลืองเอกา หรือบางทีเรียกเหลืองธรรมดา ลักษณะเหมือนไก่เหลืองทั้ง 5 ต่างกันตรงที่ไม่มีหย่อมกระ พระเจ้า 5 พระองค์ ไม่มีจุดทับทิมหรือดาวเรืองในสร้อย สีสร้อยมีทั้งแก่ กลาง อ่อน
ในไก่เหลืองหางขาวทั้ง 6 ชนิดนี้ เราถือว่าเป็นไก่เหลืองหางขาวเหมือนกันหมด ไม่มีตัวใดเหนือตัวใด แต่ในกลุ่ม พระเจ้า 5 พระองค์จะเป็นที่นิยมในคนเลี้ยงมากกว่า ใ