โรคของไก่ชน
1. แข้งผุ จะพบว่าที่เกล็ดแข้งไก่ทั้งตัวผู้และตัวเมียขยายตัวพองหน้าขึ้นสามารถแกะออกเป็นแผ่นๆ ลอกได้รอบแข้งโดยไม่มีเลือดออก
สาเหตุ เกิดจากหมัดชนิดหนึ่งฝังตัวที่เกล็ดแล้วเจริญเติบโตสามารถติดต่อไปยังตัวอื่นๆ ได้
การรักษา แกะเกล็ดออกให้หมด แล้วใช้น้ำยาที่ละลายฆ่าแมลง หรือฆ่าหมัดหาก็ได้ล้างเช็ดทุกวันก็หาย ถ้าไม่มียาเลยก็ล้างแข้งถูด้วยน้ำมันก๊าดให้หมัดตายก็หาย เมื่อพบว่าไก่เป็นในเล้า อาจมีหมัดหลุดไปติดต่อตัวอื่นๆ ให้ล้างเช็ดแข้งหรือเอาแข้งไก่แช่ในน้ำยาละลายฆ่าแมลงที่มีขายในท้องตลาดก็ได้
2. ปรวด จะพบก้อนแข็งที่ปาก คอ หน้าอก หรือลำตัว ขนาดเล็กจนถึงโตขนาด 1-2นิ้ว ถ้าพบว่าที่ปากจะส่งกลิ่นเหม็นส่วนตรงที่บวมแข็งที่ใบหน้าจะแดงเหมือนไก่ปกติแต่มักจะพบเฉพาะไก่ตัวผู้
สาเหตุ เกิดจากไก่ตีกันจนถูกแทงแผลลึก หรือถูกตีจนห้อเลือดทั้ง 2 อย่างนี้ ไม่สามารถรีดหรือเอาน้ำเลือดออดจนหมด ทำให้เชื้อเข้าไปเกิดเป็นหนองข้างในแผล หนองนี้ไม่ได้รับการผ่าออก จึงเกิดการรวมตัวเป็นก้อนแข็ง ไก่ที่เป็นปรวดนี้จะไม่แสดงอาการป่วย คือหงอยเหงา กลับแสดงอาการปกติ
การรักษา มีวิธีเดียวคือ ผ่าเอาออก จะพบว่ามีก้อนหนอง ต้องดึงออกให้หมดและต้องขุดแผลให้สะอาดไม่ให้มีเศษหนอง หรือเศษเนื้อเสียติดอยู่ แล้วล้างแผลให้สะอาดใส่ยาปฏิชีวนะล้างแผลทุกวันจนกว่าจะหาย
3. ขี้ติดก้น (ถ่ายไม่ออก) จะพบอาการไก่เบ่งถ่ายแล้วส่งเสียงร้อง แต่ถ่ายไม่ออก จะแสดงอาการอย่างนี้วันละหลายๆ ครั้ง ถ้าหากเจ้าของไก่ไม่ใส่ใจดูแล จะดูเหมือนว่าไก่ไม่ป่วยไม่เป็นอะไร แต่ถ้าสังเกตแล้วจับไก่มาดูจะพบว่ามีก้อนขี้ติดก้นถ่ายไม่ออก เป็นก้อนแข็งใช้ไม้แคะไม่ออก ถ้าปล่อยเอาไว้ไก่แสดงอาการเบ่งและส่งเสียงร้อง
สาเหตุ เกิดจากการให้อาหารหยาบมากเกินไป และให้น้ำกินน้อยไป อาหารหยาบดังกล่าว เช่น กินแต่ข้าวเปลือกอย่างเดียว การบดย่อยไม่หมดไม่แหลกมีกากมาก และแข็งประกอบกับกินน้ำน้อยทำให้ขี้แข็งถ่ายลำบากนานเข้าก็รวมกันเป็นก้อนแข็งใหญ่ติดก้นจนถ่ายไม่ออก
การรักษา ขั้นแรกต้องสวนทางก้นด้วยน้ำสบู่แล้วใช้ลูกยางดูดน้ำสบู่บีบเข้าไปล้างให้ก้อนขี้ยุ่ยหรือแตกออกมา เพราะความลื่นของน้ำสบู่หรือซื้อยาสวนทวารของคนมาบีบสวนเข้าไปขี้จะละลายหลุดออกมา เมื่อเอาขี้ออกมาแล้วต้องให้ไก่กินอาหารนิ่มแต่น้อยก่อน เช่น ข้าวสุก กล้วย และเม็ดทรายให้ไก่กินเพื่อไปช่วยย่อยที่กระเพาะบด(กึ้น)
4. หน่อ เป็นโรคที่ฝ่าเท้าไก่เป็นแผลเรื้อรังเดินแล้วเจ็บ บางครั้งพบเกิดการอักเสบทั้งข้อเท้า บางตัวเกิดที่ข้อนิ้วเท้าและฝ่าเท้าแล้วลามไปที่ข้อเท้า ถ้ายังไม่เรื้อรังจะพบฝ่าเท้าแล้วลามไปที่ข้อเท้า ถ้าเป็นเรื้อรังจะพบฝ่าเท้าเป็นแผลเก่าไก่จะเดินเขยก
สาเหตุ เกิดจากไก่เป็นรองช้ำที่ฝ่าเท้าเนื่องจากการเลี้ยงไก่ให้นอนที่คอนสูงตอนเช้าบินลงมาที่พื้นแข็งหรือให้ไก่ชนบินขึ้นลงๆมากๆ จึงเกิดรองช้ำที่ฝ่าเท้าเมื่อมีเชื้อเข้าไปจะเกิดการอักเสบทั้งข้อเท้าจนแผลแตกเป็นแผลเรื้อรัง
การรักษา ยังไม่มียารักษาหรือวิธีรักษาอย่างใดที่ได้ผลแน่นอนทั้งผ่าตัดทั้งจี้ก็ไม่หาย เพราะว่าเป็นการอักเสบที่เอ็นอุ้งเท้า การให้ยาปฏิชีวนะจะช่วยรักษาการอักเสบเท่านั้นที่ทำให้หายขาดแต่สามารถป้องกันได้โดยพื้นคอนไก่ชนต้องนิ่ม ถ้าไก่นอนสูงพื้นยิ่งต้องนิ่ม ยางรายใช้พื้นกำมะหยี่เก่าหมดสภาพ จะทำให้พื้นแข็ง จึงควรหมั่นทำความสะอาดด้วย สังเกตดูถ้าพบการรองช้ำระยะเริ่มต้นจะรักษาหายได้
5. โรคบิด พบได้เสมอตลอดทั้งปี จะพบไก่ขี้เป็นเลือด ถ่ายเหลวปนเลือดไก่จะตาย เนื่องจากถ่ายเป็นเลือดและลำไส้อักเสบ
สาเหตุ เกิดจากไก่กินน้ำไม่สะอาดมีเชื้อบิดเป็นตัวเข้าไปจะแสดงอาการในไก่ทุกอายุ คือถ่ายเหลวเป็นเลือด เนื่องจากลำไส้อักเสบ เมื่อไก่ตายผ่าดูจะพบว่าในส่วนของลำไส้เล็กหรือลำไส้ใหญ่และติ่งมีการอากรอักเสบแดง
การรักษา ต้องหาน้ำดื่มที่สะอาดให้ไก่กิน หากพบว่าไก่ถ่ายพยาธิเป็นเลือดสงสัยว่าจะเป็นโรคบิด ให้ใช้ยาซัลฟาละลายน้ำให้ไก่กิน หรือฉีดและรีบนำไก่ตายไปให้สัตว์แพทย์ตรวจอีกครั้งหนึ่ง
6. ขี้กลาก โดยปกติจะพบไก่ตัวผู้หลังจากการชนแล้ว ทำความสะอาดหน้าไม่ดีจะเกิดเชื้อรา ขึ้นบนใบหน้าและหัว เป็นสีขาว หรือปื้นใหญ่ๆ ทำให้ดูน่าเกลียด
สาเหตุ เกิดจากเชื้อราเป็นทั้งตัวผู้และตัวเมีย เกิดเป็นสีขาว ๆ เป็นผื่นขึ้นมาเป็นจุด ๆ ตามใบหน้าและหงอน
การักษา ใช้สำลีชุบยาฆ่าเชื้อราขาว ๆ ออกและทาด้วยขี้ผึ้งกำมะถันหรือจะใช้กำมะถันป่นผสมกับน้ำมันพืชให้ข้นทางทุกวันก็หาย
7. ตามบวมปิด อาการที่พบไก่ตาบวมปิดข้างเดียวหรือ 2 ข้าง ทำให้มองไม่เห็น กินอาหารไม่ได้ อาจอดอาหารตาย เปิดตาดูบางครั้งจะมีขี้ตาข้นสีขาว ๆ ปิดอยู่หรือมีน้ำตาไหลทำให้ไก่ต้องสะบัดหัวบ่อยๆ
สาเหตุ เกิดจากไก่เป็นโรคหวัด ปกติตรงหัวตาไก่จะมีท่อต่อลงมายังจมูกและลำคอ หากท่ออุดตันเชื้อหวัดจะขึ้นตา ทำให้มีน้ำตาไหลและตาบวมปิด
การรักษา เปิดตาแล้วใช้สำลีชุบน้ำยาฆ่าเชื้ออ่อนๆ ทำความสะอาดล้างตาเอาขี้ตาออกใช้ยาป้ายตาของคนทาก็ได้ อย่าให้ยาปฏิชีวนะกินให้ไก่ถูกลโกรก หนาวหรือร้อนจัดเกินไป
8. ไก่ไม่สบาย เหงา หน้าดำ ขี้ขาว กระเพาะอาหารเต็มไม่ย่อย
สาเหตุ เกิดจากการไก่เครียดจากการชนกัน จากฤดูที่เปลี่ยนแปลงทำให้เชื้ออหิวาต์ไก่กำเริบเป็นพิษขึ้นมา
การรักษา ปกติไก่ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์จะไม่ป่วยด้วยโรคนี้ การรักษาโรคนี้ต้องให้ยาซัลฟาหรือหมวดยาอื่น ๆ ก็ได้ ทั้งฉีดและกิน แต่ต้องรีดเอาอาหารในกระเพาะออกให้มากที่สุด โดยกรอกน้ำให้กินมาก ๆ แล้วจับไก่เอาตีนขึ้นชี้ฟ้าเอาหัวลงแล้วรีดเอาอาหารและน้ำออกทางปากให้ได้มากที่สุด ระหว่างการรักษาให้หยุดอาหารทั้งหมดให้กินยาละลายน้ำอย่างเดียว หรือจะให้ยาช่วยย่อยอาหารของคนให้กินจะช่วยรักษาให้รอดได้ เมื่อไก่อาการดีขึ้นให้กินกล้วยสุกหรือข้าวสุก เล็กน้อยแล้วค่อยเพิ่มขึ้นทุกวัน การฉีดวัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์ไก่จะเป็นการดีที่สุด
9. คอดอก โรคนี้จะพบว่าไก่ปากเหม็น น้ำลายเหม็น เมื่อเปิดปากดูจะพบว่าที่ลำคอจะมีแผ่นขาวๆ ติดอยู่ที่ผนังลำคอหรือเป็นวงกลมๆ เมื่อเอาสำลีเช็ดจะหลุดออก
สาเหตุ อาจจะเกิดจากเชื้อราทำให้มีแผ่นขาวๆ ติดอยู่หรืออาจจะเกิดจากฝีดาษคงคอ เพราะว่าฝีดาษเกิดตามใบหน้าของลูกไก่ แต่หากไก่ใหญ่เป็นโรคนี้จะเป็นที่คอ หรืออาจจะเกิดจากไก่ขาดวิตามินเอก็ได้ เพราะว่าการขาดวิตามินเอจะทำให้ผิวหนังลำคอหนาขึ้นมา
การรักษา ใช้ใช้สำลีเช็ดตรงผื่นขาวๆ ออก แล้วทาด้วยยาสีม่วง(เจนเตียนไวเลท) ถ้าเป็นเชื้อราต้องใช้ยากินรักษาเชื้อราให้น้ำมันตับปลาหรือผักสีเหลืองให้กินป้องกันขาดวิตามินเอก็ได้ เช่น มะละกอสุก เป็นต้น
10. พยาธิตาไก่ จะพบเห็นพยาธิอยู่ในตาไก่ วิ่งออกเร็ว ตามหัวทัน เปลือกตา ทำให้ไก่น้ำตาไหลหรือบวมได้
สาเหตุ เกิดจากพยาธิชนิดหนึ่งที่มีแมลงสาบเป็นพาหนะ คือไก่กินแมลงสาบจึงจะเป็นโรคนี้
การรักษา ควรให้การป้องกันไม่ให้ไก่กินแมลงสาบถ้าพบว่าตาไก่มีพยาธิอยู่ให้ใช้สำลีพันไม้เช็ดออก โดยหยอดยาล้างตาให้พยาธิลอยตัวแล้วเช็ดออกได้ง่าย
11. แข้งถก แข้งถกในไก่มักจะเป็นไก่ชนตัวผู้ เมื่อโตเต็มที่แล้ว โดยจะเริ่มเป็นแผลสดตกสะเก็ดเล็กๆ ตรงข้อพับของขา จะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ไก่จะแสดงอาการเจ็บปวด ไม่อยากเดิน ยืนยกขางอตรงข้อพับ ซึ่งปล่อยไว้ไก่อาจตายได้
การรักษา ใช้ยารักษาโดยเฉพาะ เช่น ยา FUMODI ทางตรงข้อพับเช้า-เย็น จะทำให้หนังตรงและเอ็นตรงข้อพับหย่อยตัว และแผลค่อยๆ หายไป แต่เป็นยาที่มีราคาแพงมาก ควรใช้ยาที่สามารถเตรียมเองได้ โดยมีวิธีการเตรียมดังนี้
เอากะลามะพร้าวที่เอาเนื้ออกมาแล้วกลั่นให้ได้น้ำมันของเนื้อกะลาแล้วทาตรงข้อพับวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เช่นกัน
วิธีกลั่น ใช้กะลามะพร้าว 2-3 ชิ้น มาจุดไฟให้ติดกะลาแล้วนำไปใส่ในโถหรือถ้วยเคลือบก็ได้ โดยลอกโถหรือถ้วยเคลือบในน้ำเย็น ให้กะลามะพร้าวไหม้จนเกือบหมดแล้วผาฝาปิด เพื่อให้ไฟดับเราจะได้น้ำมันตกไปที่ก้นถ้วยหรือโถจะไก้น้ำมันเล็กน้อย จึงอาจจะต้องทำบ่อยๆ จนได้ปริมาณพอตามต้องการ
12. กระดูกอกคด ไก่ชนที่มีอาการกระดูกคด เมื่อเข้าประกวดกรรมการจะคัดออกไม่มีการตัดสิน เหตุผลที่คัดออกไปเพราะเป็นไก่ที่ไม่สมบูรณ์ ผิดปกติจึงส่งผลต่อการออกชน ร่างกายจะอ่อนแอไม่แกร่งเพียงพอ
สาเหตุ ไก่กระดูกอกคด อันเนื่องมาจากกระดูกอ่อนเกิดจากไก่ขาดสารอาหารและวิตามิน ได้แก่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินดี เพราะสารอาหารเหล่านี้จะช่วยสร้างความแข็งแรงให้กระดูก จงอยปาก เล็บ เดือย เปลือกไข่ เป็นต้น ในแม่ไก่จะพบไข่เปลือกบาง ไข่นิ่ม ในลูกไก่จะทรงตัวไม่ดี เดินโซเซขนหยาบกร้าน บางตัวจงอยปากบิด เล็บบิดเบี้ยว กระดูกซีโครงอ่อนบิด เป็นปมที่รอยต่อกระดูกอ่อน ทำให้กระดูกหน้าอกคด ชาวบ้านเรียกว่า “ไก่หลังกุ่ง”
การรักษา เมื่อเกิดอาการกระดูกคดแล้ว คงยากที่จะรักษาให้หายขาดได้จึงควรเน้นการป้องกันมากกว่า โดยปล่อยให้ไก่หากินก่อนอาหารธรรมชาติเองบ้างแล้วเสริมด้วยพืชผัก ผลไม้ เช่น ใบกระถิน มะละกอ มะม่วงสุก ฯลฯ แต่หากได้กินพวกแมลงหรือสัตว์เลื้อยคลาน และปลา ก็จะทำให้ได้แคลเซียม แก้ปัญหากระดูกอ่อนคดได้
13. ลูกไก่ตีนขยุ้ม ปัญหาสำคัญของการเลี้ยงลูกไก่ชนในช่วงแรกเกิดจนถึง 2 เดือน มักจะพบอาการตีนขยุ้มของลูกไก่บางตัว เดินไม่ได้ ต้องนั่งบนข้อเข่า ใช้ปีกทั้งสองข้างพยุงตัว จึงถือผลผลิตลูกไก่ชนที่ได้ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน
สาเหตุ เกิดจากขาดวิตามินบี 2 หรือไรโบฟลาวิน ซึ่งพบได้โดยธรรมชาติในพืชผักสีเขียว หรือหญ้าสด ประโยชน์ของวิตามินบี 2 คือ ช่วยสร้างระบบน้ำย่อยในร่างกาย และช่วยระบบการทำงานของปลายประสาทโดยเฉพาะช่วงลูกไก่กำลังเจริญเตอบโต
การรักษา การป้องกันเป็นวิธีที่ดีที่สุด ถ้าพบลูกไก่ตีนขยุ้ม ควรให้วิตามินบี 2 ซึ่งอาจรวมอยู่ในวิตามินบีรวม เมื่อนำมาให้ลูกไก่ป่วยกินจะมีผลตอบสนองภายใน 2-3 วัน ให้ซ้ำหลายๆ ครั้งจะได้หาย ในแม่ไก่ชน ควรหาหญ้าสีเขียวให้ไก่กินบ้าง ใบกระถินบ้าง โดยเฉพาะการเลี้ยงขังยิ่งมีความจำเป็นอย่างมากจึงควรให้วิตามินบีรวมแก่แม่ไก่ชนก่อนผสมพันธุ์กินเป็นประจำ จะทำให้ลูกไก่ที่เกิดมาแข็งแรงสมบูรณ์ไม่มีอาการตีนขยุ้ม
14. หมัดหน้าไก่ เป็นชื่อรวมๆ ซึ่งหมัดที่เกาะหน้าไก่บางครั้งอาจพบมากที่หงอนก็เรียก หมัดหงอนไก่ ถ้าพบมากที่เหนียง เรียกหมัดเหนียงไก่ หรือที่ตา เรียกหมัดตาไก่ เป็นต้น ไม่ว่าหมัดจะเกิดขึ้นบริเวณใดล้วนแต่สร้างความรำคาญและเกิดผลเสียต่อสุขภาพร่างกายไก่ทั้งนั้น เพราะหมัดดูเลือดจากหน้าไก่จนทำให้ลูกไก่ตายได้
สาเหตุ เกิดจากตัวหมัดเกาตัวแน่นบริเวณหงอน เหนียง หรือรอบๆ ตาโดยหมัดมีวงจรชีวิตจากไข่ไปสู่ตัวโตเต็มวัยประมาณ 1 เดือน หมัดแต่ละตัวสามารถไข่ได้ถึง 500 ฟอง ภายใน 1 – 2 สัปดาห์ จะออกเป็นตัว
การรักษา เมื่อเราทราบวงจรชีวิตของหมัดแล้วจะทำให้เรากำจัดและป้องกันได้ง่ายขึ้น แต่การป้องกันจะง่ายและดีกว่า ถ้าเลี้ยงไก่ในคอกโรงเรือนที่สะอาด แห้งไม่มีการหมักหมมของขี้ไก่ ต้องคอยกำจัดขยะมูลฝอยรอบๆ คอกหรือโรงเรือน
ส่วนการรักษาต้องระมัดระวังการใช้ยา เพราะอาจเข้าตาหรือไหลเข้าปากจนเป็นอันตรายถึงชีวิต ในลูกไก่อาจใช้ยากำจัดหมัดของสุนัขและแมวเคาะตามตัวไก่จนใบหน้าจะทำให้หมัดตายได้ โดยไม่เป็นอันตรายต่อลูกไก่ ในไก่ใหญ่อาจใช้ยาละลายน้ำอาบ หรือเช็ดตามใบหน้า โดยเลือกยาที่ไม่เป็นอันตรายต่อไก่ เช่น มาลาไทอ่อน เป็นต้น ส่วนบริเวณพื้นคอกจะต้องฉีดพ่นเพื่อทำลายตัวอ่อน หรือตัวแก่ที่หลงเหลืออยู่ในหมัดจนหมดไปจากคอก หรือโรงเรือน