ที่มา

Phuketaquarium.  (2564).  ปลาก้างพระร่วง.สืบค้น. https://phuketaquarium.org/knowleadge/glass-catfishqrcode/.
กรมประมง. (2552).  ปลาประจำหน่วยงาน. https://https://bit.ly/3B3WwSN.
ปลาก้างพระร่วง ประโยชน์ และการเลี้ยงปลาก้างพระร่วง. (2560).  https://bit.ly/3joMBBd.

การเลี้ยงดู

การเลี้ยงไก่ชน
        ผู้เลี้ยงไก่ชน หรือผู้เริ่มเลี้ยงไก่ชนต้องศึกษาหาความรู้จากนักเลงไก่ชน จากผู้รู้ หรือมีประสบการณ์มาก่อน จะเป็นการดีสำหรับการเรียนรู้อย่างไรก็ตาม ให้ถือหลักที่ว่าให้พ่อพันธุ์ที่ถูกต้องตามลักษณะพันธุ์และลักษณะชั้นเชิง หรือลีลาการชนอย่างที่เราชอบ พ่อพันธุ์จะถ่ายทอดกรรมพันธุ์ทั้งสองนี้ คือ สีและชั้นเชิงการชน ส่วนแม่พันธ์ต้องหาให้เข้าตำราเช่นกัน คือ ไก่ดอก (ขนทั้งตัวดำปลายขนมีจุดขาว) หรือไก่กระ และต้องหาจากเหลาที่มีความน้ำอดน้ำทน กำลังใจดีสู้ไม่ถอย ซึ่งแม่พันธุ์จะถ่ายทอดพันธุกรรมในเรื่องนี้ในการเลือกหาพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ให้ดูขนหูด้วยเพราะว่าสีขนหูจะบอกถึงสีทั้งตัวของไก่

 อาหาร
                สำหรับการเลี้ยงมี 2 ลักษณะ คือการเลี้ยงแบบขังไม่ค่อยปล่อยควรจะให้อาหารสำเร็จเสริมด้วย ผักผลไม้ต้องมีให้ไก่กิน การเลี้ยงแบบปล่อยเลี้ยงจะหากินเองได้ถ้าเลี้ยงขังต้องให้กินวิตามินรวม น้ำมันตับปลาด้วย
                ไก่ต้องการอาหารเพื่อใช้ประโยชน์ต่าง ๆ เช่น ใช้ชีวิตประจำวัน เช่น หายใจ เดิน วิ่ง และการกินอาหาร ใช้ในการสร้างกระดูก เนื้อ หนัง ขน เล็บ และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ใช้ในการสร้างไข่ และผลิตลูกไก่ ดังนั้น การที่ไก่จะเจริญเติบโตดี มีความแข็งแรง และให้ไข่มาก ไก่ จะต้องได้กินอาหารเพียงพอ และได้กินอาหารดี โดยสม่ำเสมอทุกวัน ไก่ต้องการอาหารประเภทใดบ้าง ความต้องการอาหารของไก่คล้ายกับคนมาก ไก่ต้องการอาหารทั้งหมด 6 อย่าง คือ
                อาหารประเภทแป้ง เพื่อนำไปสร้างกำลัง ใช้ในการเดิน การวิ่ง อาหารประเภทนี้ได้จากรำ ปลายข้าว ข้าวโพด ข้าวเปลือก กากมันสำปะหลัง

 อาหารประเภทเนื้อ เพื่อนำไปสร้างขน เล็บ เลือด เนื้อหนัง อาหารประเภทนี้ได้จากแมลง ไส้เดือน ปลา ปลาป่น

        อาหารประเภทไขมัน นำไปสร้างความร้อนให้ร่างกาย อบอุ่นได้จากกากถั่ว กากมะพร้าว ไขสัตว์ น้ำมันหมู กากงา

        อาหารประเภทแร่ธาตุ ไก่ต้องการอาหารแร่ธาตุไปสร้างกระดูก เลือด และเปลือกไข่ แร่ธาตุต่าง ๆ ได้จากเปลือกหอยป่น กระดูกป่น

        อาหารประเภทไวตามิน สร้างความแข็งแรง และกระปรี้กระเปร่าแก่ร่างกาย สร้างความต้านทานโรค และ บำรุงระบบประสาท มีในหญ้าสด ใบกระถิน ข้าวโพด รำข้าว ปลาป่น

น้ำ เป็นสิ่งจำเป็นที่สุดต่อร่างกาย ถ้าขาดน้ำไก่จะตายภายใน 24 ชั่วโมง ต้องมีน้ำให้ไก่ กินตลอดเวลา การปล่อยให้ไก่หาอาหารเองตามธรรมชาติจนเคยชิน ทำให้เกษตรกรเข้าใจว่าไก่กินรำและปลายข้าวและอาหารตามธรรมชาติก็ เป็นการเพียงพอแล้วแต่การที่จะเลี้ยงไก่ให้ได้ผลดีนั้นเกษตรกรจะต้องให้การเอาใจใส่เรื่องอาหารและน้ำให้มากขึ้นโดยวิธีการง่ายๆ ดังนี้
                1. ให้น้ำสะอาดตั้งไว้ให้ไก่กินตลอดวัน และคอยเปลี่ยนน้ำทุกๆ วัน
                2. ให้อาหารผสมทุกเช้าเย็นเพิ่มเติมจากอาหารที่ไก่หากินได้ตามปกติ

        3. ให้อาหารไก่หลาย ๆ ชนิดผสมกัน เช่น ปลายข้าว รำข้าว ข้าวโพดป่น ปลาป่น  ข้าวเปลือก กากถั่ว กากมะพร้าว หัวอาหารไก่สำเร็จรูปชนิดเม็ดหรือชนิดผง
                4. มีเปลือกหอยป่นผสมเกลือป่นตั้งทิ้งไว้ให้ไก่กินตลอดเวลา
                5. ให้หญ้าสด ใบกระถิน หรือผักสดให้ไก่กินทุกวัน
                6. ในฤดูแล้ง ไก่มักจะขาดหญ้ากินเกษตรกรควรปลูกกระถินไว้บริเวณใกล้ๆ คอก วิธีปลูกนั้นให้นำเมล็ดกระถินมาลวกด้วยน้ำร้อนนาน 2 ถึง 3 นาที แล้วนำไปแช่น้ำเย็น เสร็จแล้วจึงนำไปเพาะในดินใส่ถุงพลาสติก จนกระทั่งต้นกระถินสูงประมาณ 1 เมตรจึงย้ายไปปลูกเป็นแถวหรือแนวรั้ว เมื่อต้นกระถินติดดีแล้ว ควรตัดให้ต้นต่ำ ๆ เพื่อไก่จะได้กินถึงหรือจะคอยตัดให้ไก่กินก็ได้ นอกจากนั้นเราอาจเพาะข้าวเปลือกหรือถั่วเขียวให้ไก่กินก็ได้ การเพาะถั่วเขียวให้เอาเมล็ดถั่วเขียวแช่เย็นไว้ 12 ชั่วโมง ล้างใส่ไหคว่ำไว้หมั่นรดน้ำทุก 2-3 ชั่วโมง พอครบ 3 วันก็เอาออกให้ไก่กินได้ ถั่วเขียว 4 กระป๋องนมให้แม่ไก่กินได้ประมาณ 100 ตัว
                7. การใช้หัวอาหารไก่สำเร็จรูปผสมลงในรำข้าวหรือปลายข้าวเป็นวิธีการที่สะดวกที่สุด เนื่องจากเกษตรกรสามารถหาซื้อได้ง่ายและผสมได้สะดวกเป็นวิธีที่จะเสริมให้ไก่เจริญเติบโตรวดเร็วขึ้น
                8. การสังเกตว่าไก่ได้อาหารเพียงพอหรือไม่ให้ดูว่าในระยะแรกที่ให้อาหารไก่จะรีบกินและมีการแย่งกัน ถ้าไก่กินอาหารไปเรื่อย ๆ และเลิกแย่งกันกินอาหารช้าลง มีการคุ้ยเขี่ย แสดงว่าไก่ได้กินอาหารเพียงพอแล้ว

                9. อาหารไก่ชน โดยทั่วไปแล้วนิยมให้กินข้าวเปลือก ซึ่งต้องล้างน้ำให้สะอาดและต้องเป็นข้างเปลือกข้าวเจ้าด้วย บางรายต้องการให้ไก่มีกำลัง เอาข้าวเปลือกล้างน้ำตากให้แห้งคลุกด้วยไข่ไก่ ให้ไข่แดงไข่ขาวจับติดเม็ดข้าวเปลือกแล้วจึงตากให้ จึงนำมาให้ไก่กิน

วัคซีน
                วัคซีนต้องทำตามกำหนด โรคนิวคาสเซิล ต้องหยอดจมูกแรกเกิด 1-3 วัน 1 ครั้ง ทำซ้ำเมื่ออายุ 1 เดือน และจากนี้ทำทุกๆ 3-4 เดือน  โรคฝีดาษต้องปลูกฝีเมื่ออายุได้ 7 วัน  ทำครั้งเดียวได้ตลอดชีวิต โรคอหิวาต์ มักทำให้ไก่ชนที่เหงาตาย หรือตกคอนตาย หรือมีอาการหน้าดำและขี้ขาวตาย ต้องป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันเข้ากล้ามเนื้ออกป้องกันได้ 3-4 เดือน และแม่ไก่มักตายเมื่อเริ่มไข่ ควรฉีดวัคซีนป้องกันด้วย
        การผสมพันธุ์
                การเลี้ยงพ่อไก่และแม่ไก่ในระหว่างผสมพันธุ์ต้องให้อาหารอย่างสมบูรณ์ และควรเลี้ยงในคอกผสมพันธุ์ในสุ่มก็ได้ โดยให้ผสมพันธุ์พ่อไก่ 1 ตัวต่อแม่พันธุ์ 2 ตัว ปกติให้ผสมพันธุ์ตัวต่อตัว เมื่อเห็นพ่อไก่ผสมพันธุ์แล้วควรแยกออกจากัน แล้วปล่อยพ่อไก่เข้าผสมอีกวันละ 3 เวลา หรือ 3 ครั้งก็พอ ทำเช่นนี้จนแม่ไก่ฟักไข่


                การคัดเลือกพ่อพันธุ์
                1. ต้องมีลักษณะเข้าตำราไก่ชนพระนเรศวรฯ
                2. ต้องเป็นไก่ชนที่ไม่เคยแพ้มาก่อน
                3. อายุพ่อไก่ต้องตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป และอายุไม่เกิน 3 ปี
                การคัดเลือกแม่พันธุ์
                1. มีลักษณะเข้าตำราไก่ชนพระนเรศวรเช่นกัน
                2. แม่พันธุ์ที่ดีควรให้ลูกมาแล้วสัก 2 คอก แต่อายุไม่แก่เกินไป
                3. ควรใช้แม่พันธุ์ไม่เกิน 3 ตัว ต่อพ่อพันธุ์ 1 ตัว

รังฟักไข่
                ผู้เลี้ยงควรจัดหาลัง กล่องหรือตะกร้า หรือใช้ไม้ไผ่ผสานเป็นรังไก่แล้วใช้ใบไม้หรือใบหญ้าแห้งไปพอประมาณ ปกตินิยมใช้ฟางแห้งใส่ไปในรังไก่ รังไก่นี้ควรเอาใบหญ้าหรือฝางเผาทิ้งทุกครั้ง เมื่อแม่ไก่ฟักไข่ออกมาแล้ว เพื่อป้องกันการเกิดไรไก่ หากพบไรไก่ในแม่ไก่ให้ใส่แป้งฝุ่นฆ่าเห็บเหาไร ซึ่งใช้กับสุนัขนำมาใช้ได้ หรือจะใช้ในตะไคร้แห้งรองพื้นรังไก่ ก็สามารถป้องกันไรไก่ได้ดีเช่นกัน
        การคัดเลือกไข่ฟัก
                ปกติไก่ชนจะให้ไขประมาณ 12-18 ฟอง แต่การฟักไข่นั้นต้องขึ้นอยู่กับขนาดแม่ไก่ หากแม่ไก่มีขนาดใหญ่ ขนปีหนา ก็จะฟักไข่ได้หลายฟองโดยทั่วไปแล้วจะให้แม่ไก่ฟักไข่ประมาณ 8-15 เท่านั้น ไข่ที่คัดฟักนั้นต้องสมบูรณ์ไม่บิดเบี้ยว ผิวเปลือกเรียบ ตำราไก่ชนทุกฉบับกล่าวถึงการคัดเลือกไข่ตัวผู้ ตัวเมียไว้ดังนี้ ไข่ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าไข่ตัวเมียหรือมีน้ำหนักมากกว่า และพบว่าตรงกลางไข่กลมแล้วเรียวไปทั้ง 2 ข้าง ส่วนไข่ตัวเมียจะมีขนาดเล็ก และเบากว่าไข่ตัวผู้ ด้านหนึ่งจะเรียวอีกด้านจะป้าน ลูกไก่จะออกจากไข่เมื่อฟักได้ 21 วันแต่เมื่อแม่ไก่เริ่มฟักได้ 3 วัน ควรส่องไข่หาจุดเลือด หากไม่มีถือว่าไข่ใบนั้นไม่มีเชื้อให้นำไปรับประทานได้และตรวจส่องไข่ เมื่อไก่ฟักไข่ได้ 7 วัน จุดเลือดจะขยายใหญ่ขึ้น หากจุดเลือดไม่ขยายใหญ่ยังมีขนาดเท่าเดิม เหมือนเมื่อไก่ฟักได้ 3 วัน ถือว่าไข่ตายโคมให้คัดออกมาได้

                การเลี้ยงลูกไก่
                การเลี้ยงลูกไก่แบ่งได้ 3 ระยะ คือ
                        1. ระยะแรก ซึ่งเริ่มตั้งแต่ลูกไก่เกิดจนถึงอายุ 3 อาทิตย์ เป็นระยะที่ลูกไก่ต้องการความอบอุ่น ควรขังลูกไก่ให้อยู่กับแม่ในสุ่ม ให้น้ำสะอาดกินตลอดเวลา อาหารลูกไก่ ควรเป็นปลายข้าวหรือข้าวโพดป่นและเสริมด้วยทรายสะอาดให้กิน
                        2. ระยะ 3-8 อาทิตย์ ควรปล่อยให้แม่ไก่พาลูกออกมาหากินโดยอิสระตามลานบ้าน มีกองทรายและกองหญ้าหรือกองใบไม้ ให้แม่ไก่และลูกไก่คุ้ยเขี่ยหาตัวแมลงกินน้ำสะอาดต้องมีไว้ให้ลูกกิน และควรให้ลูกไก่ฝึกหัดกินข้าวเปลือก และมีผักสดให้ลูกไก่กิน หรือกินใบหญ้าก็ได้ ลูกไก่จะหาแมลงหรือไส้เดือนกิน และรู้จักกินผลไม้สุกด้วย เช่น มะละกอสุก ช่วงนี้ต้องทำคอนเตี้ยๆ ให้ลูกไก่ขึ้นเพื่อสร้างกล้ามเนื้อขาให้แข็งแรง
                        3. ระยะไก่กระทง อายุลูกไก่ 2-4 เดือน เป็นระยะที่ลูกไก่จะจากแม่เป็นอิสระลุกไก่จะเริ่มจิกตีกัน แต่อย่าปล่อยให้ลูกไก่ตีกัน ควรจะแยกกันมิฉะนั้น ลูกไก่จะมีตำหนิที่หน้าทำให้ขายไม่ได้ราคา เพราะบางตัวจะจิกตีกันจนหัวแตก ตาฉีก ในช่วงนี้เมื่ออาหารอย่างสมบูรณ์แล้วลูกไก่บางตัวยังผอมต้องถ่ายพยาธิ และในช่วงนี้จะคัดไก่ดูให้เข้าลักษณะตำราไก่ชนพระนเรศวร และตีเบอร์ทำประวัติไก่ไว้
        การสร้างเล้าไก่
                การสร้างคอกหรือเล้าเพาะพันธุ์ไก่ชน ขึ้นอยู่กับขนาดจำนวนไก่ต้องถือหลักว่าโปร่งโล่ง อากาศถ่ายเทได้ดี พื้นต้องไม่ชื้น ต้องรองด้วยแกลบหรือขี้กบให้หนา เพื่อให้พื้นนุ่มหนา  การสร้างเล้าไก่ควรสร้างให้มีลักษณะกันแดดกันฝนได้ ต้องกว้างพอประมาณและสูงขนาดเดินเข้าไปในเล้าได้ เล้าไก่ต้องห่างจากบ้านพอประมาณ และอยู่ในที่สูงเพื่อป้องกันการชื้นแฉะในหน้าฝน ไม่ควรสร้างใต้ต้นไม้เพราะไก่ชอบนอนที่สูงจะไม่เข้าเล้าแต่จะนอนบนต้นไม้แทนพื้นเล้าต้องปูด้วยแกลบ ขี้เลื่อย หรือทรายก็ได้ ต้องทำความสะอาดพื้นเล้าอยู่เสมอในเล้าควรมีขวดใส่น้ำสะอาดให้กินตลอดเวลา ต้องทำคอนให้ไก่นอนและมีรังไก่ไว้ให้แม่ไก่ไข่ด้วย ในปัจจุบันควรทำมุ้งกันยุงด้วยหรือแมลงให้ไก่ก่อน หรือติดมุ่งรอบเล้าก็ได้ จะทำให้ไก่ถูกรบกวนโดยแมลง ไก่จะนอนหลับทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ และป้องกันโรคฝีดาษได้ด้วย
        ยาบำรุงไก่ชน
                ตำรับที่ 1 ใช้บอระเพ็ดหั่นเป็นชิ้นบางๆ แช่น้ำผึ้งเดือนห้าให้กินทุกวัน
                ตำรับที่ 2 หัวไพร่ เจตมูลเพลิง ผักคราดหัวแหวน ตำให้ละเอียดนำมาผสมน้ำผึ้งเดือนห้าปั้นเป็นลุกกลอนให้กิน
                ตำรับที่ 3 ให้กินลูกเขียนขนาดโตพอประมาณหรือลูกหนูแดงๆ ไม่มีขน จิ้งจกหรือลูกปลาวันละตัว ทำให้มีกำลังวังชาแข็งแรง ถ้าหากหายากอาจให้เนื้อสดวันละชิ้นขนาดเท่านิ้วก้อยก็พอ
                ตำรับที่ 4 ใช้ข้าเหนียวเผาจนดำตำพริกสุก หอยขมใส่ปลาป่นและน้ำอ้อย ปั้นเป็นลูกกลอนให้กิน
                ตำหรับที่ 5 ใช้กระชาย พริกไทย ดีปรี และตระไคร้ ตำให้แหลกนำมายัดใส่ปากปลาช่อนตัวใหญ่ 1 ตัว ใส่ไปให้เต็มท้องแล้วแล้วนำปลาช่อนมาปิ้งให้สุกแล้วตำหรือโขลกทั้งตัวให้แหลก ผสมน้ำผึ้งเดือนห้า ปั้นเป็นลูกกลอนให้ไก่กินตำหรับนี้นอกจากบำรุงกำลังแล้วยังทำให้ปีกไก่แข็งแรงและบินสูง
                ตำหรับที่ 6 ใช้บอระเพ็ด กระชาย กระเทียม ปลาช่อน นกกระจอก ยาดำ หัวแห้วหมู พริกไทย (หน้าร้อนไม่ใช้) น้ำผึ้ง ใช้ตัวยาทุกอย่าง เท่า ๆ กัน บดละเอียด ผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอนให้กินก่อนนอนทุกวัน ทำให้ไก่แข็งแรง
                ตำหรับที่ 7 เป็นยาบำรุงเสริม ใช้หญ้าแพรกบดให้ละเอียด ตากลมให้แห้งพอหมาดๆ แล้วผสมขมข้น ปั้นเป็นลูกกลอนให้ไก่กินก่อนนอน ทำให้แข็งแรงและทำให้บินเก่ง

ประวัติความเป็นมา

ปลาก้างพระร่วง

มีเรื่องเล่าต่อ ๆ กันมาแต่ก่อนว่า ครั้งหนึ่งพระร่วงเจ้าได้เสด็จประพาสแล้วชาวบ้านนำพระกระยาหารมาถวาย ซึ่งมีปลารวมอยู่ในพระกระยาหารนั้นด้วย พระร่วงเสวยปลานั้นแล้วทรงนำก้างปลาไปลอยน้ำแล้วตรัสว่า เจ้าก้างปลาตัวน้อยจงกลับมีชีวิตแล้วว่ายน้ำไปด้วยวาจาสิทธิ์ ปลาตัวดังกล่าวก็กลับมีชีวิตขึ้นใหม่จริง ๆ จึงได้ชื่อว่า “ก้างพระร่วง” นับแต่นั้น ก้างปลานั้นก็เลยกลายเป็นปลาชนิดหนึ่งแหวกว่ายอยู่ในกระแสน้ำและสืบพันธุ์มาตราบจนทุกวันนี้ นอกจากชื่อปลาก้างพระร่วงแล้ว ยังมีชื่อเรียกตามท้องถิ่นอื่น ๆ อีก เช่น “ปลาผี”, “ปลาก้าง”, “ปลากระจก”, “ปลาเพียว” เป็นต้น

ถิ่นที่อยู่

ปลาก้างพระร่วงชอบอาศัยอยู่ตามลำธารที่มีน้ำไหล บริเวณแนวร่มไม้ชายคา โดยลอยตัวอยู่เป็นฝูงนิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามมากเนื่องจากมีลักษณะแปลกตาดูสวยงามว่ายน้ำได้ปราดเปรียว พบได้ทั่วไปในแหล่งน้ำในภาคเหนือพบที่จังหวัดสุโขทัย ภาคกลางพบที่จังหวัดนครนายก จันทบุรี และตราด ภาคใต้พบที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี

การดำรงชีวิต

ปลาก้างพระร่วงชอบความสงบเงียบ  อยู่รวมกันเป็นฝูงจำนวน 100 ตัวขึ้นไป ชอบเกาะกลุ่มในแหล่งน้ำไหล โดยจะลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ และหันหน้าสู้กระแสน้ำไปในทิศทางเดียวกันหมด เป็นปลาขี้ตื่นตกใจมาก เมื่อตกใจจะว่ายกระจัดกระจายไปคนละทิศละทาง จากนั้นก็จะกลับมาเกาะกลุ่มตามเดิมเวลากลางวันจะหลบอาศัยอยู่ตามกอไม้น้ำ  พอตกกลางคืนจึงชวนกันออกหากิน  อาหารในธรรมชาติของปลาชนิดนี้ได้แก่ แพลงก์ตอน ตัวอ่อนแมลงน้ำ  ลูกน้ำ  และสัตว์น้ำขนาดเล็ก เพราะเป็นปลารักสงบไม่รบกวนปลาชนิดอื่น

ลักษณะ

ปลาก้างพระร่วง มีลักษณะ
          หัว หัวเล็ก จะงอยปากสั้น ตากลมโต มีหนวด 2 คู่ หนวดคู่แรกบนขากรรไกรบน ส่วนคู่ที่ 2 อยู่บนขากรรไกรล่าง มีขนาดสั้น โดยหนวดคู่บนจะยาวกว่าคู่ล่างมาก
          ลำตัว ลำตัวเรียวยาว  ไม่มีเกล็ด แบนข้างคล้ายปลาเนื้ออ่อน แต่มีขนาดเล็ก ลำตัวมีลักษณะโปร่งใส  สามารถเห็นโครงกระดูกภายใน  หากส่องด้วยแว่นขยายจะมองเห็นหัวใจปลาเต้นได้ และถ้ามีแสงกระทบในมุมที่ถูกต้องก็จะเห็นตัวปลาเป็นสีเหลือบรุ้ง ส่วนหัวและกระเพาะอาหารที่ทึบแสง
          ครีบ ครีบหลังมีขนาดเล็กและสั้นมากจนมองไม่เห็น ครีบอกใหญ่ ครีบก้นยาวจนถึงครีบหางครีบ  หางเล็กเป็นแฉกลึก
          ขนาด ขนาดทั่วไปปกติอยู่ที่ราว 6.5 ซม. แต่อาจพบยาวได้ถึง 8 -10ซม. สูงสุดไม่เกิน 15 ซม.
          การสืบพันธุ์  ปลาก้างพระร่วงสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศโดยในธรรมชาติจะวางไข่ประมาณเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน ลูกปลาเมื่อฟักออกจากไข่จะมีลักษณะเดียวกันจนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัย

ประวัติความเป็นมา

“ปูแป้ง” หรือ ปูสองแคว ซึ่งเป็นปูป่าที่มีลักษณะสีสันสวยงามหายาก ลักษณะสวยงาม มีสีสันสดใส ถูกพบเมื่อเดือนมิถุนายน 2554 โดย โดยนายฉลอง นุ้ยฉิม เจ้าหน้าที่ขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาน้อย – เขาประดู่ และส่งตัวอย่างให้แก่ ศ.ดร.ไพบูลย์ นัยเนตร ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตรวจสอบพิสูจน์ชนิดพันธุ์ในเบื้องต้นพบว่าเป็นปูพันธุ์ใหม่ จึงตั้งชื่อว่า “ปูสองแคว” ถือว่าเป็นสัตว์ป่าพื้นถิ่นที่หาชมได้ยากยิ่ง ปัจจุบันมีน้อยลงจากการสำรวจพบว่ามีประชากรปูสองแคว เหลือเพียงประมาณ 1,000 ตัวเท่านั้น

ประวัติความเป็นมา

          บางแก้วเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก สภาพของหมู่บ้าน ตั้งอยู่บนฝั่งคลองบางแก้วพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ในฤดูฝนน้ำจะท่วมทุกปี ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ ทำสวน และจับปลา ความเป็นมาตั้งแต่อดีต-จนถึงปัจจุบัน สมัยนั้นบ้านบางแก้วยังเป็นถิ่นฐานที่ทุรกันดารมาก ความเจริญยังไม่เข้าถึง สภาพพื้นที่ในหมู่บ้านยังเป็นป่าดงดิบ มีต้นไม้นานาพรรณอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น พง แขม และไผ่ แต่ที่ดูแปลกตาหรือมีมากกว่าพันธุ์ไม้อย่างอื่น ก็คือ ต้นระกำ หรือคนในสมัยนั้นเรียกว่าป่าระกำ ด้วยเหตุนี้เองชาวบ้านในพื้นที่นี้ จึงตั้งชื่อ อำเภอบางระกำ นอกจากนี้แล้วในสมัยนั้นยังมีสัตว์ป่าเป็นจำนวนมาก เช่น เก้ง กวาง ชะนี และสุนัขจิ้งจอก

          ต่อมาเมื่อมีผู้คนเข้ามาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านนี้มากขึ้นพวกเขาจึงได้ช่วยกันสร้างวัดโดยใช้วัสดุง่ายๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น ซึ่งเรียกว่า วัดบางแก้ว โดยมีหลวงปู่มาก เมธาวี เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 3 ของวัด ในขณะนั้นในแถบนั้นกล่าวขานกันว่าท่านเป็นนักเทศน์ที่สามารถเทศน์แสดงธรรมได้อย่างยอดเยี่ยม และท่านยังมีวิชาอาคมที่เลื่องชื่อลือไกลท่านมีเมตตาและจิตโอบอ้อมอารีต่อสัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในวัดเป็นอย่างมาก มีชาวบ้านในแถบนั้นเล่าให้ฟังว่ามีอยู่ครั้งหนึ่งที่ตานิ่มเป็นชาวบ้านที่อยู่เหนือวัดบางแก้วขึ้นไป  เขาเป็นคนนับถือหลวงปู่มากได้นำสุนัขตัวเมียพันธุ์ใหญ่ ขนยาวสีดำ สวยงามมากมาให้หลวงปู่ตัวหนึ่ง พอถึงเดือนสิบสองแม่สุนัขเริ่มเป็นสัด(เป็นสัดหมายถึงอาการที่สุนัขพร้อมที่จะผสมพันธุ์) ได้ไปผสมพันธุ์กับสุนัขจิ้งจอกข้างนอกวัดทำให้มีลูกสุนัขครอกแรก ขนยาวสีดำปนสีประดู่ มีรูปร่างขนาดใหญ่ติดแม่ ปากแหลมค่อนข้างยาว หางเป็นพวงติดไปทางพ่อลูกสุนัขที่เกิดใหม่จึงมีลักษณะเด่นทั้งพ่อและแม่รวมกัน ต่อมาได้มีชาวบ้านจากจังหวัดอ่างทอง สุพรรณบุรี และนครปฐม ได้อพยพมาอยู่ในหมู่บ้านบางแก้วกันมากขึ้น จึงทำให้หมู่บ้านที่เคยเงียบสงัดคึกคักและเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว สุนัขก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อสุนัขของหลวงปู่ผสมกับสุนัขต่างถิ่น จึงทำให้สายพันธุ์ระหว่างสุนัขป่ากับสุนัขบ้านจางลงมาทางสุนัขบ้านมากขึ้น ในปัจจุบันสุนัขบางแก้วได้กระจายไปอยู่เกือบทุกภูมิภาคของประเทศไทยแล้ว โดยเฉพาะที่กรุงเทพฯ ได้มีนักเลี้ยงสุนัขเป็นจำนวนมาก ส่วนที่รองลงมามีชลบุรี ภูเก็ต และอีกหลายๆ จังหวัดในประเทศไทย           สุนัขไทย พันธุ์บางแก้ว ของจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นสุนัขไทยพันธุ์เดียวในประเทศไทยที่มีขนยาวอ่อนนิ่มลักษณะของขนเป็นสองชั้น ขนหางเป็นพวงคล้ายสุนัขป่า มีขนยาวตามหน้าอกและลำคอเป็นแผงคล้ายขนแผงของสิงโตมีขนแผงยาวกลางหลัง ขนที่หลังขาหน้ายาวตลอดคล้ายขนของขาสิงห์ในวรรณคดีขาหลังก็มีบ้างแต่ยาวน้อยกว่าขาหน้า มีขนในใบหูและรอบๆ กกหูมีขนตายาวตามนิ้วอุ้งเท้า ซึ่งความแตกต่างจากสุนัขไทย พื้นบ้านที่มีมาแต่เดิม มีอุปนิสัยที่มีความปราดเปรียวว่องไว เฉลียวฉลาดซื่อสัตย์รักเจ้าของ รักถิ่นฐาน ฝึกหัดให้เชื่อฟังคำสั่งได้ดีไม่แพ้สุนัขใช้งานของต่างประเทศมีนิสัยค่อนข้าง

Web Site

1.   เรื่อง         :  ไก่ชนนเรศวร          
     จัดทำโดย :  ปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลก 
      ที่มา        :  http://breeding.dld.go.th/biodiversity/chm/pvp_chm/provineculture/
                       Naresuan%20Fighting%20Cock.htm

2.  เรื่อง         :  สมเด็จพระนเรศวรไม่ได้ทรงชนไก่      
    จัดทำโดย    :  มิวเซียมสยาม (Museum Siam)
    ที่มา          :  https://m.museumsiam.org/da-detail2.php?MID=0&CID=0&CONID=3282
3.  เรื่อง         :  ไก่เหลืองหางขาว
    จัดทำโดย    :  สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครนายก
    ที่มา          :  http://kaichonthailandfight.com/pages/index.php?id=2 4.  เรื่อง         :  ไก่เหลืองหางขาว
    จัดทำโดย    :  หนังสือพิมพ์แนวหน้า
    ที่มา          :  https://www.naewna.com/politic/columnist/33471
5.  เรื่อง         :  ความหลากหลายของไก่เหลืองหางขาวตามลักษณะอุดมทัศนีย์ในจังหวัดพิษณุโลก
    จัดทำโดย    :  อุษณีย์ภรณ์ สร้อยเพ็ชร และคนอื่นๆ วารสารแก่นเกษตร 45 ฉบับพิเศษ 1 มหาวิทยาลัยขอนแก่น
    ที่มา          :  https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=P015%20Ani21.pdf
                       &id=2721&keeptrack=4

สุนัขบางแก้ว
1.  เรื่อง       :  ‘หมาบางแก้ว’ เหตุใดละม้ายจิ้งจอก รู้จักนิสัยน้องเบื้องต้นก่อนเลี้ยง
    จัดทำโดย :  หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
    ที่มา        :  https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/901832
2.  เรื่อง       :  ไทยบางแก้ว
    จัดทำโดย :  Wikipedia
    ที่มา        :  https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%
                    E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%81%
                    E0%B9%89%E0%B8%A7

3.  เรื่อง       :  สุนัขบางแก้ว
    จัดทำโดย :  ปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลก
    ที่มา        :  http://breeding.dld.go.th/biodiversity/chm/pvp_chm/provinepet/Thai
                     %20bangkaew%20dog.htm

4.  เรื่อง        :  สุนัขไทยบางแก้ว 
    จัดทำโดย  :  สมาคมพัฒนาพันธุ์สุนัข (ประเทศไทย)
    ที่มา         :  http://kathailand.org/thaibangkaew/

ปูสองแคว

1.  เรื่อง :  ‘ปูสองแคว’ ปูพื้นถิ่นหายาก โผล่จากรูให้ยลโฉม เห็นได้เฉพาะหน้าหนาว เท่านั้น
    จัดทำโดย    :  มติชนออนไลน์
    ที่มา          :  https://www.matichon.co.th/region/news_1184743
2.  เรื่อง         :  “ปูสองแคว” เฉพาะถิ่น Phitsanulok Only!!
    จัดทำโดย    :  สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 พิษณุโลก
    ที่มา          :  https://www.facebook.com/DNP1362/posts/2266767076971521/
3.  เรื่อง         :  ปูสองแคว
    จัดทำโดย    :  สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
    ที่มา          :  https://archive.lib.kmutt.ac.th/index.php?option=com_joomgallery
                       &func=detail&id=8239&Itemid=55

4.  เรื่อง         :  โผล่จากรูแล้ว! “ปูสองแคว-สีสุดสวยพันธุ์หายากระดับโลก” เริ่มออกหากินกลางป่าแควน้อย
    จัดทำโดย    :  ผู้จัดการออนไลน์
    ที่มา          :  https://mgronline.com/local/detail/9620000055802

5.  เรื่อง         :  ฝนตกปูสองแควเริ่มออก ปีนี้ประชากรปูเพิ่มขึ้น
    จัดทำโดย    :  เดลินิวส์
    ที่มา          :  https://www.dailynews.co.th/regional/504265/

แหล่งที่พบ

สองแควนับว่าเป็นปูหายาก มีสีสันสดใส ผิดจากปูที่พบเห็นทั่วไป คือ
                แหล่งที่พบ  ปูสองแควในลำห้วย  ริมห้วยที่มีโขดหิน  ตามซอกหินที่มีน้ำไหล พื้นเป็นหิน  และผืนดินชื้นแฉะเป็นแหล่งน้ำซับ บริเวณที่ร่มครึ้ม  อาศัยอยู่ในรูที่มีความลึกประมาณ 1-1.5เมตร ปูชนิดนี้ไม่ชอบอยู่ในน้ำจะใช้การเดินแบบคืบคลานแม่ปูจะออกลูกในช่วงปลายฤดูฝนต้นหนาวและผสมพันธุ์วางไข่ในช่วงฤดูฝน
            จุดที่พบมาก
               
เขตอุทยานแห่งชาติแควน้อย ต.คันโช้ง อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก 
                เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาน้อย-เขาประดู่  หมู่ที่ 2 บ้านป่าคาย ต.บ้านยาง อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก และบริเวณห้วยซำตาเรือ