ปูสองแคว มีลักษณะสีสันสวยงาม มีลักษณะเด่นดังนี้
ดวงตา ขอบใต้ดวงตาของปูจะมีเส้นสี ขาวโค้งรับกับลูกตา
ก้าม ก้ามปูมีสีน้ำเงินเข้มตลอดก้าม บางตัวก้ามมีสี เช่น ปลายสุดของก้ามมีสีอ่อนฟ้าควันบุหรี่ โคนก้ามเป็นสีฟ้าอ่อน บางตัวมีก้ามสีเหลือง และก้ามสีส้ม สดใสสวยงามมาก
กระดอง ส่วนกระดองปูบางตัวมีสีเทา และบางตัวมีสีดำสนิท ขนาดของลำตัวปู ประมาณ 5-6 เซนติเมตร
อาหาร กินพืชน้ำ แมลง ตัวอ่อนของแมลง และสัตว์เล็กๆ เป็นอาหาร โดยออกหากินในเวลากลางคืน
Author: admin
Web Site
Online Clipping
ที่มา
‘ปูสองแคว’ ปูพื้นถิ่นหายาก โผล่จากรูให้ยลโฉม เห็นได้เฉพาะหน้าหนาว เท่านั้น. (2561, 18 ตุลาคม).
มติชนออนไลน์. https://www.matichon.co.th/region/news_1184743.
ยลโฉม “ปูสองแคว” สัตว์พื้นถิ่นหายาก. (2562, 14 มิถุนายน). คม ชัด ลึก.
https://www.komchadluek.net/news/local/375600.
ปูสองแควมาแล้วจ้า! เตรียมต้อนรับนักท่องเที่ยวมาเยือนเมืองพิษณุโลก. (2559, 22 มิถุนายน).
ไทยรัฐออนไลน์. https://www.thairath.co.th/news/local/644632.
ฝนตกปูสองแควเริ่มออก ปีนี้ประชากรปูเพิ่มขึ้น. (2559, 22 มิถุนายน). เดลินิวส์.
https://www.dailynews.co.th/regional/504265/.
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. (ม.ป.ป.). ปูสองแคว. สำนักหอสมุด.
https://archive.lib.kmutt.ac.th/index.php?option=com_joomgallery&func=detail&id=
8239&Itemid=55.
ลักษณะ
“อุดมทัศนีย์” ของสุนัขพันธุ์บางแก้ว คำว่าอุดมทัศนีย์ โดยความหมายว่า “ความพอใจอันสูงสุดในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง” อุดมทัศนีย์ของพืช-สัตว์ จะต้องปรับปรุงสูงขึ้นตลอดเวลาสุนัขพันธุ์บางแก้วเมื่อได้วางมาตรฐานพันธุ์ไว้ในระดับหนึ่งมาแล้วก็จะต้องมีอุดมทัศนีย์ ที่จะปรับมาตรฐานให้สูงขึ้นได้ชื่อว่าเป็นการพัฒนาคุณลักษณะของสุนัขพันธุ์บางแก้ว ในปัจจุบันยังคงมีลักษณะรูปแบบอันหลากหลายที่ควรจะมีการกำหนดให้อยู่ในขอบเขตของลักษณะสุนัขพันธุ์แท้หรือสายเลือดที่นิ่งแล้วคือรูปแบบที่จำกัด หรือที่เรียกว่าลักษณะเดียว พ่อ-แม่ มีลักษณะอย่างไร ลูกที่ออกมาจะต้องมีส่วนคล้ายคลึงไปทางพ่อหรือแม่ผู้ให้กำเนิดที่ได้ถ่ายถอดทางกรรมพันธุ์
ลักษณะเด่นของสุนัขพันธุ์บางแก้วที่แท้จริง
1. ใบหน้าแบบหน้าสุนัขจิ้งจอก เป็นสุนัขที่มีหัวกะโหลกเล็กกว่าแบบหน้าเสือ แต่ใหญ่กว่าแบบหน้าสิงโต หัวกะโหลกมีขนาดปานกลาง ใบหูใหญ่กว่าแบบสิงโตและแบบหน้าเสือ ปากแหลมยาว ขนหางยาวเป็นพวง ใบหูเอนไปด้านข้าง
2. ใบหน้าแบบหน้าสิงโต สุนัขพันธุ์บางแก้วที่มีใบหน้าเหมือนสิงโต จะมีกะโหลกเล็กกว่าแบบหน้าเสือปากจะสั้นไม่เรียวแหลม หูค่อนข้างเล็ก เป็นรูปสามเหลี่ยม โคนหูจะชิดกันปลายหูป้องไปข้างหน้าเล็กน้อยแปลกกว่าชนิดอื่นตรงที่มีเคราหรือขนไต้คางห้อยยาวลงมาถึงลูกกระเดือก หางมีทั้งม้วนสูง และม้วนต่ำเท้าเล็กแบบแมว
3. ใบหน้าแบบเสือสุนัขที่มีลักษณะหน้าคล้ายหน้าเสือนี้ หัวกะโหลกใหญ่หน้าผากกว้าง ที่ตั้งของโคนหูทั้งสองข้างห่างกัน ปลายหูเบนไปด้านข้างเล็กน้อย ตามีสีเหลืองคล้ำ ม่านตาสีดำ มีแววตาเชื่องซึมคล้ายเสือ ขนแผงคอคล้ายม้าสุนัขพันธุ์บางแก้วที่มีลักษณะเด่นนี้จะดุกว่าพันธุ์อื่นๆ
ลักษณะประจำพันธุ์ของสุนัขพันธุ์บางแก้ว
ขนาด สุนัขพันธุ์บางแก้วมีขนาดเท่าสุนัขไทยหรือเล็กกว่าเล็กน้อยไม่อ้วนรูปร่างเพรียวพ่อพันธุ์ มีความสูงที่ไหล่เฉลี่ย 38-48 เซนติเมตร ตัวเมียแม่พันธุ์มีความสูงที่ไหล่ 38-48 เซนติเมตร
สี มีหลายสี เช่น ดำ หลอดน้ำตาล น้ำตาลขาว ขาวดำ ขาวปลอดดำ สีด่างพื้น ขาวสลับดำ และสีด่างพื้นขาวสลับน้ำตาล แต่สีที่นิยมอยู่ในปัจจุบันนี้ คือ สีน้ำตาลขาว เป็นสีที่ขายดีที่สุด ส่วนสีอื่นๆ ก็เลือกซื้อตามความชอบของแต่ละบุคคล
ขน ลูกสุนัขจะมีขนยาวปานกลางขึ้นแน่นทั่วตัวเป็นปุยนิ่ม สุนัขหนุ่มสาวที่โตเต็มที่แล้วขนที่กลางขึ้นแน่นทั่วตัวเป็นปุยนิ่ม สุนัขหนุ่มสาวที่โตเต็มที่แล้วขนที่กลางหลังตั้งแต่ท้ายทอยไปจนถึงโคนหางจะยาวกว่าขนบริเวณอื่นๆ สำหรับตัวผู้ขนแผงคอจะยาวน่าเกรงขาม มองดูเหมือนแผงคอม้า เวลาโกรธหรือขู่ศัตรูขนแผงคอจะตั้งชั้น มองดูน่าเกรงขามแขวงด้วยความน่ารัก
ปาก เรียวแหลมเป็นรูปสามเหลี่ยมคอนข้างเล็กได้สัดส่วนกับกะโหลกหัว
ฟัน ฟันต้องแข็งแรงมีเขี้ยวแหลมคมข้างบน 2 ซี่ล่าง 2 ซี่ ฟันหน้าข้างบนและล่างประกอบกันพอดี ที่ขอบฟันเสมอกันและฟันต้องมีครบทั้ง 42 ซี่ แยกเป็นฟันบน 20 ซี่ ฟันล่าง 22 ซี่
ตา ลักษณะเหมือนตาเหยี่ยว พื้นลูกนัยน์ตาค่อนข้างเหลือง หรืออาจจะเหลืองปนเทาแต่ถ้าเห็นคนแปลกหน้าหรือศัตรูจะเปลี่ยนเป็นสีเขียววาวทันที
หู มีทั้งขนาดใหญ่และปานกลาง ใบหูมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายค่อนข้างแหลม ตั้งป้องไปข้างหน้า มีขนปกคลุม ปลายหูเบนไปข้างเล็กน้อย โคนหูห่างจากกันมากกว่าสุนัขทั่วๆ ไป และปลายหูเบนเล็กน้อย ซึ่งเป็นจุดเด่นที่ใช้สังเกตว่าเป็นสุนัขพันธุ์บางแก้ว
หาง ต้องมีลักษณะเด่นตามพ่อพันธุ์เดิม ขนเป็นพวงตั้งงอบนหลังคล้ายหางสุนัขจิ้งจอก แบ่งย่อยได้ 3 แบบคือ
1. ปลายหางโค้งไปทางด้านหน้าหลัง
2. ปลายหางพุ่มไปทางด้านแล้วโค้งกลับมาทางด้านหน้า คล้ายสุนัขพันธุ์ไทยหางดาบแต่ด้วยเหตุผลที่ขนยาวมีมาก จึงทำให้ปลายหางห้อยไปทางด้านใดด้านหนึ่ง
3. หางสวยงามแบบพ่อพันธุ์สุนัขจิ้งจอก คือ หางจะเหยียดไปทางด้านหลัง ปลายโค้งขึ้นเล็กน้อย ขนยาวเป็นพวงเหมือนหางม้า เวลาดีใจจะยกหางขึ้นเหมือนหางจิ้งจอก
ขา ช่วงขาหน้าใหญ่กว่าขาหลัง ส่วนบนหนาใหญ่และเรียวลงมาทางด้านล่าง เวลายืนหรือเคลื่อนไหวจะทรงตัวได้ดีมากขาหลังมีทั้งตรงและเกือบตรงทั้งขาหน้าและขาหลังมองดูแล้วคล้ายขาสิงโต
เท้า ค่อนข้างเล็กกว่าสุนัขพันธุ์ไทยทั่วไป ในท่ายืนปกติลักษณะนิ้วเท้าสั้น ทำให้ดูเท้ากลม ลักษณะเหมือนเท้าแมว แต่แข็งแรงทั้งเท้าหน้าและเท้าหลัง มีนิ้วข้างละ 4 นิ้ว และเรียงชิดกันข้างละ 4 นิ้ว และเรียงชิดกันมีระเบียบ ขนบริเวณปลายเท้าทั้ง 4 ยาวหุ้มเล็บ
ลิ้น ต้องเป็นสีชมพูไม่มีปานดำเหมือนสุนัขพันธุ์ไทยทั่วไป
จมูก ที่พบส่วนใหญ่สีดำ
ลำตัว ช่วงหน้าใหญ่แต่ช่วงท้ายเล็กลง เอวจะไม่คอดเท่าสุนัขพันธุ์ไทยทั่วไป ลำตัวหนาปานกลาง อกลึกปานกลาง มองดูคล้ายรูปร่างสิงโต
น้ำหนัก โดยเฉลี่ยทั่วไป ตัวผู้จะมีน้ำหนักประมาณ 14-16 กิโลกรัม ตัวเมียจะมีน้ำหนักประมาณ 13-15 กิโลกรัม
หัว มีอยู่ 2 ชนิดคือ กะโหลกขนาดใหญ่คล้ายสิงโตและขนาดปานกลาง
มาตรฐานสุนัขบางแก้ว
ส่วนหน้า
หัว ค่อนข้างใหญ่ได้สัดส่วนกับลำตัว ดั้งจมูก (Stop) มุมหักเล็กน้อย
จมูก มีสีดำ ขนาดได้สัดส่วนกับปาก
ปาก ยาวปานกลางโคนปากใหญ่เรียวจรดปลายจมูก
ฟัน เล็กและแหลมคม ขบกันแนบสนิทแบบกรรไกร (Scissors Bite) โดยฟันบนเกยอยู่ด้านนอก อนุโลมให้ขบฟันเสมอกันดี อนุโลมให้ฟันขบเสมอกันดี สุนัขโตควรมีฟันครบ 42 ซี่
ตา เล็ก คล้ายเมล็ดอัลมอนด์ มีสีน้ำตาลเข้ม
หู รูปสามเหลี่ยม มีขนาดเล็กได้สัดส่วนกับหัว ตั้งป้องไปข้างหน้า มีขนอ่อนที่กกหูและหลังใบหู
คอ ใหญ่ ล่ำสัน รับกับหัวและช่วงไหล มีแผงขนยาวรอบคอ
หลัง เส้นหลังตรง
อก กว้างและลึกได้
สะโพก ใหญ่และแข็งแรง ส่วนหลังมีขนยาวลามมาจนถึงข้อขาหลังท่อนบน
หาง โคนหางใหญ่ขนหางเป็นพวง ปลายโค้งเข้าหาเส้นหลัง
ขาหน้า ใหญ่กว่าขาหลัง เวลายืนเหยียดตรงและขนานกัน ข้อเท้าสั้น ทำมุมเฉียงเล็กน้อย หลังขามีขนยาวลักษณะคล้ายแข้งสิงห์
ขาหลัง เล็กกว่าขาหน้า เวลายืนทำมุมพอเหมาะมองจากด้านหลังข้อเท้าหลังตั้งได้ฉากและขนานกัน
เท้า อุ้งเท้ากลมคล้ายอุ้งเท้าแมว มีขนยาวคลุมนิ้วเท้า
ขนาด/น้ำหนัก
ความสูง เพศผู้ สูง 19-21 (48-53 ซ.ม.) เพศเมียสูง 17-19 นิ้ว (43-48 ซ.ม.) อนุโลมให้สูงและต่ำกว่านี้ได้ 0.50 นิ้ว (1.2 ซ.ม.)
น้ำหนัก เพศหนัก 19-21 กิโลกรัม เพศเมียหนัก 16-18 กิโลกรัม
ขน/สีขน
ขน ยาวปานกลางมี 2 ชั้น ชั้นในละเอียดอ่อนนุ่มชั้นนอกเส้นใหญ่เหยียดตรง ยางคลุมบริเวณแผ่นหลัง
สี ขาว-น้ำตาล ขาว-ดำ ขาว-เทา
การเลี้ยงดู
สุนัขพันธุ์บางแก้วเป็นสุนัขที่มีนิสัยคอนข้างแปลกไปกว่าสุนัขพันธุ์อื่นๆ คือ เป็นมิตรกับคนไม่เกิน 2 คน มีเจ้าของผู้เลี้ยงดูกับคนใกล้ชิด ด้วยเหตุนี้เองจึงมีชาวพิษณุโลก กล่าวขานว่า สุนัขบางพันธุ์บางแก้วเป็นสุนัขที่มีนิสัยดุร้ายต้อสู้ แม้กระทั่งสุนัขที่โตกว่ามากๆ ใครอย่าเข้าไปแตะต้องตัวหรือเข้าใกล้อย่างเด็ดขาดดีไม่ดีสุนัขอาจจะกัดเอาง่ายๆ ถ้าหากว่านท่านเลี้ยงสุนัขในบ้านไว้หลายๆ พันธุ์แต่ท่านไปสนใจสุนัขพันธุ์อื่นก่อน เมื่อลับหลังเจ้าของสุนัขพันธุ์บางแก้วจะเข้าไปกัดหรือเล่นงานสุนัขพันธุ์อื่นทันที แต่สุนัขพันธุ์นี้มีความจงรักภักดีต่อเจ้าของเป็นเยี่ยม มีความจำดีมากเหมือนนกพิราบแข่ง แต่มีนิสัยขี้อิจฉา ชอบเรียกร้องความสนใจอยากได้การตอบสนองจากเจ้าของก่อนสุนัขพันธุ์อื่นๆ สุนัขบางแก้วเป็นสุนัขที่มีนิสัยรักความสะอาด แต่กำเนิดที่อยู่แพหรือน้ำท่วมบ้านในฤดูฝนสุนัขพันธุ์บางแก้วจะว่ายน้ำไปถ่ายตามจอมปลวกหรือท่าน้ำที่มีขอนไม้ผูกไว้สำหรับขึ้นบ้านโดยไม่จำเป็นต้องมีการฝึกฝนแต่อย่างใด สุนัข สุนัขพันธุ์บางแก้วชอบอาน้ำอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง แต่ถ้าวันไหนอากาศร้อนจัดสุนัขพันธุ์บางแก้วจะลงเล่นน้ำวันละ 2-3 ครั้ง โดยประมาณ เดิมหมู่บ้านบางแก้วอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำ ในฤดูน้ำหลากต้องใช้เรือพายสัญจรไปมา ส่วนสุนัขก็ไม่สามารถขึ้นเรือได้ถนัดจึงว่ายน้ำในฤดูน้ำหลากต้องใช้เรือพายสัญจรไปมา ส่วนสุนัขก็ไม่สามารถขึ้นเรือได้ถนัดจึงว่ายน้ำไปมาข้ามฝั่งได้อย่างคล่องแคล่ว จึงเป็นเหตุให้สุนัขพันธุ์นี้ชอบกระโดดโลดเต้นลงในน้ำบ่อยๆ เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด หรือระบายความร้อนและยังช่วยทำความสะอาดร่างกายจากการเปื้อนดินโคลนอีกทางหนึ่ง ด้วยเหตุนี้เองที่ปลูกนิสัยให้สุนัขพันธุ์บางแก้วเป็นสุนัขที่รักความสะอาดนอกจากนี้เวลาขับถ่ายสุนัขพันธุ์บางแก้วยังไม่ถ่ายอุจจาระและปัสสาวะเรี่ยราด ถ้ากำลังนอนเล่นในบ้านเมื่อถึงเวลาก็จะออกไปถ่ายนอกบ้านทันทีการเลี้ยงลูกสุนัขบางแก้ว
การดูแลลูกสุนัขบางแก้วให้มีสุขภาพดีและสมบูรณ์เป็นยอดปรารถนาของเจ้าของผู้รักสุนัขบางแก้ว ต้องดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี นอกจากให้อาหารที่ดีแล้วท่านต้องเล่นกับมันด้วย ให้เกิดความคุ้นเคย การจับลูบหัว การอุ้ม หรือ การอาบน้ำให้ และการวิ่งเล่นในสนาม จะทำให้เราทราบความผิดปกติของลูกสุนัขได้ ขอให้เราเป็นผู้ที่ช่างสังเกต และหากมีเวลาเราต้องตรวจดูว่ามีความผิดปกติอะไรบ้าง และต้องแก้ไขอย่างไร การตรวจนั้นเราควรเป็นระบบไปดังนี้
1. ผิวหนังและขน โดยปกติสุนัขบางแก้ว จะเป็นสุนัขขนยาว จึงไม่ค่อยได้เห็นผิวหนัง นอกจากเปิดดู ถ้าสุนัขบางแก้วนอน เราจะเห็นผิวหนังที่ท้องได้เพราะว่ามีขนน้อย และเป็นจุดอ่อนของสุนัขบางแก้วที่ยุงจะกัดได้ ต้องดูมีผื่นแดงไหม มีจุดเลือดจ้ำๆ หรือไม่ ซึ่งสามารถมองเห็นได้ ขนสุนัขบางแก้วที่ยาวนี้ เจ้าของต้องหวีให้บาง หรือลูบตามรอยขนว่ามีขนร่วมไหมขนหยาบหรือไม่ ช่วงถ่ายขนขนจะร่วงมาก หรือขนหยาบกร้าน เราควรให้ยาบำรุงแกสุนัขด้วย ที่สำคัญเราต้องลูกขนสุนัขย้อนขนขึ้นไป เช่น ลูบขนย้อนไป จากโคนหางไปทางหัว โดยผ่านหลังไหล่และคอ เพื่อดูผิวหนังตรวจดูหมัด และเห็บ ถ้าสุนัขของเราแสดงอาการคันและอ้าปากไปแทะตรงกลางหลัง ทำเช่นนี้บ่อยๆ แสดงว่า มีหมัดแดงอยู่บริเวณกลางหลังแน่นอน บางครั้งจะพบว่าสุนัขใช้ปากแทะจนขนร่วง เมื่อเราเปิดขนดูจะพบหมัดแดงนี้ และบางครั้งเราจะพบว่าสุนัขบางแก้วขนหลุดที่ปลายหาง หรือใช้ปากแทะปลายหางการดูแลรักษาสุนัข
อาหาร
อายุ 1-2 เดือน ให้อาหารวันละ 6 ครั้ง
อายุ 2-3 เดือน ให้อาหารวันละ 5 ครั้ง
อายุ 3-4 เดือน ให้อาหารวันละ 4 ครั้ง
อายุ 4-6 เดือน ให้อาหารวันละ 3 ครั้ง
อายุ 6 เดือน ขึ้นไปให้อาหารวันละ 1-2 ครั้ง
นอกจากนี้การให้อาหารในแต่ละวันแล้ว ลูกสุนัขยังต้องการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ โดยเฉพาะแคลเซียมเป็นอาหารเสริมที่ได้จากกระดูกสัตว์ ช่วยเสริมให้กระดูกลูกสุนัขแข็งแรงและช่วยป้องกันโรคข้ออักเสบซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สำคัญที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดเรื้อรัง นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันโรคโปลิโอในลูกสุนัข ส่วนวิตามินเอและวิตามินดีเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับลูกสุนัขเพื่อเสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรงให้กับลูกสุนัขและยังช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ตลอดจนช่วยในการเจริญพันธุ์อีกด้วย สำหรับวิตามินบีรวมช่วยกระตุ้นหรือบำรุงประสาทให้สุนัขตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา
อย่างไรก็ตาม การบำรุงดูแลรักษาลูกสุนัขให้มีสุขภาพดีนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ ประการในการให้อาหาร ต้องให้สุนัขกินครบทั้ง 5 หมู่ และต้องให้ลุกสุนัขกินอาหารเสริมในปริมาณที่เหมาะสม สำหรับการรักษาความสะอาดปกติสุนัขพันธุ์บางแก้วเป็นสุนัขที่ชอบรักษาความสะอาดด้วยตัวเองอยู่แล้ว เรื่องการดูแลรักษาความสะอาดจึงไม่ค่อยเกิดปัญหาเท่าใดนัก
การดูแลสุนัขบางแก้วให้มีสุขภาพดีและสมบูรณ์เป็นยอดปรารถนาของเจ้าของผู้รักสุนัขบางแก้ว ต้องดูแลเอาใจส่อย่างดี นอกจากให้อาหารที่ดีแล้วท่านต้องเล่นกับมันด้วย ให้เกิดความคุ้นเคย การจับการลูบหัว การอุ้ม หรือ การอาบน้ำให้ และการวิ่งแล่นในสนาม จะทำให้เราทราบความผิดปกติของสุนัขเราได้ ขอให้เราเป็นผู้ที่ช่างสังเกต และหากมีเวลา เราต้องตรวจดูว่ามีความผิดปกติอะไร และต้องแก้ไขอย่างไร การตรวจนั้นเราควรตรวจดังนี้
1. ผิวหนังและขน โดยปกติสุนัขบางแก้ว จะเป็นสุนัขขนยาว จึงไม่ค่อยได้เห็นผิวหนัง นอกจากเปิดดูถ้าสุนัขบางแก้วนอน เราจะเห็นผิวหนังที่ท้องได้เพราะว่ามีขนน้อย และเป็นจุดอ่อนของสุนัขที่ยุงกัดได้ ต้องดูมีผื่นแดงไหม มีจุดเลือดจ้ำๆ หรือไม่ ซึ่งสามารถมองเห็นได้ ขนของสุนัขบางแก้วที่ยาวนี้ เจ้าของต้องหวีให้บ้าง หรือลูบตามรอยขนว่ามีร่วงไหมขนหยาบหรือไม่ ช่วงถ่ายขนขนจะร่วงมาก หรือขนหยาบกร้าน เราควรให้ยาบำรุงแก่สุนัข ที่สำคัญเราต้องลูบขนสุนัขย้อนขึ้นไป เช่น ลูบขนย้อนขึ้นไปจากโคนหางไปทางหัว โดยผ่านหลัง ไหล่และคอ เพื่อดูผิวหนังตรวจดูหมัด และเห็บ ถ้าสุนัขของเราแสดงอาการคันและเอาปากไปแทะคันและเอาปากไปแทะตรงกลางหลัง ทำเช่นนี้บ่อยๆ แสดงว่ามีหมัดแดงอยู่บริเวณกลางหลังแน่นอน บางครั้งจะพบว่าสุนัขใช้ปากแทะจนขนร่วง เมื่อเราเปิดขนดูจะพบว่าตัวหมัดแดงนี้ และบางครั้งเราจะพบว่าสุนัขบางแก้วขนหลุดที่ปลายหาง หรือใช้ปากแทะปลายหาง จนเลือดออกเมื่อเปิดขนหางดู จะพบหมัดแดงเช่นกัน นอกจากนี้จะพบได้ที่บริเวณท้องตรงเต้านม เมื่อพบตัวหมัดแดงเหล่านี้ให้ใช้ยาฆ่าหมัด มีทั้งแบบผสมน้ำอาบและแบบใช้สเปย์ฉีด หรือแป้งฝุ่นเคาะตามตัว แล้วลูกแป้งเข้าไปให้ถึงผิวหนังหรืออาจจะต้องใช้ยาฉีดเข้าใต้ผิวหนังต้องไปปรึกษาสัตวแพทย์ ข้อควรระวัง เรามักพบหมัดแดงตามตัวแม่สุนัขที่มีลูกอ่อนการใช้ยาฆ่าหมัดแดงตามตัวต้องใช้ชนิดอ่อนๆ มิฉะนั้นจะเป็นอันตรายต่อลูก จึงควรปรึกษาสัตวแพทย์
2. หู ใบหูสุนัขบางแก้วจะมีขนยาวปกคลุมอยู่ ควรตรวจดูรูหูบ่อยๆ ถ้าเราดูหูจะพบว่าผิวหนังจะมีสีชมพูแดงๆ มีขี้หูเหลืองๆน้ำตาลๆเป็นมันข้นๆ อยู่ การทำความสะอาดใช้ผ้าหรือสำลีเช็ดใบหูด้านในและรูหูด้านนอกก็พอสิ่งที่พบผิดปกติของหูคือ มีกลิ่นเหม็น มีน้ำหนองไหลออกมาแสดงว่าหูอักเสบต้องไปหาสัตวแพทย์รักษา สุนัขแสดงอาการคันในรูหู โดยเอาขาหลังยกขึ้นมาเกาที่ใบหู ถ้าตรวจในรูหูพบตัวเห็บให้จับออกจนหมด แล้วใช้แป้งฝุ่นกนหมัดเห็บสุนัขเคาะใส่เล็กน้อย ถ้าสุนัขสลัดหัวบ่อยๆ ก็ควรตรวจรูหูให้ดีหรือใบหูด้วย ใบหูด้านนอกอาจระคายเคืองจนห้อเลือด บวมเป่งให้เห็นต้องรีบไปหาสัตวแพทย์ ทำการเจาะเอาน้ำเลือดออก
3. ตา ตาสุนัขบางแก้ว เมื่อดูแล้วจะสดใส ไม่ค่อยพบสุนัขบางแก้วเป็นโรคเกี่ยวกับตา เหมือนสุนัขพันธุ์อื่นๆ เช่น ตาแดง หนังตาบวม เป็นต้น จะพบบาดแผลที่หนังตาในสุนัขบางแก้วที่ดุหรือชอบกัดกัน แต่ถ้าพบขี้ตาแสดงว่าร่างกายสุนัขไม่สมบูรณ์ ส่วนใหญ่แล้วจะบอกกันว่าให้ไปถ่ายพยาธิอันที่จริงแล้วเราควรเก็บอุจจาระสุนัขใส่ตลับไปให้สัตวแพทย์ตรวจหาไข่พยาธิจะได้ถ่ายยาให้ถูกต้องกับชนิดของพยาธิดีกว่าถ้าหากพบอาการที่ผิดปกติเกี่ยวกับตา ควรรีบปรึกษาแพทย์เช่นกัน
4. จมูก โดยปกติจมูกสุนัขบางแก้วจะมีสีดำ ปลายจมูกจะชื้นเป็นมันจับดูจะรู้สึกเย็น ถ้าหากเห็นปลายจมูกแห้ง แสดงว่าสุนัขไม่ค่อยสบายอาจจะเป็นไข้ ควรไปหาสัตวแพทย์เมื่อหาสาเหตุของการป่วย จะพบได้บ่อยที่สุนัขบางแก้วมีอาการบวมที่รอบๆ จมูก หรือปาก เนื่องจากสุนัขบางแก้วชอบล่าสัตว์ บางครั้งไปเล่นกับคางคกยางตามตัวคางคกจะทำให้เกิดระคายเคืองที่จมูก และปากทำให้บวมได้ ถ้าเป็นเช่นนี้ ให้รีบไปหาสัตวแพทย์รักษา
5. ปากและฟัน โดยปกติริมขอบปากสุนัขจะเป็นสีดำ ฟันขาวสะอาด ฟันบนกับฟันล่างจะขบกันพอดีๆ การตรวจสอบปากสุนัขจำเป็นต้องดูเป็นประจำหากพบว่าสุนัขมีกลิ่นปาก หรือปากเหม็น ยิ่งต้องตรวจให้ละเอียด อาจจะพบว่าสุนัขที่เลี้ยงด้วยอาหารเม็ด เศษอาหารจะติดตามร่องฟันทำให้ปากเหม็นได้ หรืออาจจะพบว่ามีแคลเซียมพอกรอบฟันก็ได้ ต้องให้สัตว์แพทย์ทำการขูดแคลเซียมให้ ในสุนัขเล็กจะพบว่าบางครั้งฟันน้ำนมหลุดยาก ต้องให้ลูกสุนัขแทะกระดูก หรือกระดูกเทียมก็ได้จะช่วยให้ฟันน้ำนมหลุดได้ สุนัขบางแก้วเป็นสุนัขที่มีฟันแข็งแรงแหลมคม มีความดุ ชอบกัดคน เจ้าของบางคนชอบให้ สัตวแพทย์ตัดเขี้ยวให้ทั้งสี่เขี้ยวให้เสมอๆ กับฟัน เพื่อให้กัดคนไม่เข้า การตัดฟันที่ไม่ระวังถ้าเป็นสุนัขที่โตแล้วอายุมากจำเป็นต้องตัดลึก จะทำให้สุนัขเกิดการเสียวฟัน เกิดการเขี้ยวผุได้ การตัดควรตัดเฉพาะปลายๆ เท่านั้น
6. เล็บและนิ้วเท้า โดยปกติสุนัขบางแก้วชอบวิ่งเล่น ชอบขุดดิน บางท่านบอกสุนัขบางแก้วฝนเล็บ โดยนิสัยอย่างนี้ สุนัขบางแก้วเล็บจะไม่ยาว แต่ถ้าเราเลี้ยงสุนัขบางแก้วขังมากเกินไป ไม่ได้ออกมาวิ่งเล่นเล็บจะยาว ควรตัดเล็บให้เล็บจะทำให้สุนัขเดินได้ดี และควรเปิดดูระหว่างนิ้วเท้าว่ามีหมัดเห็บชอบมาหลบอยู่ระหว่างซอกนี้ ตรวจดูอุ้งเท้าด้วย เพราะว่าความซนของสุนัขบางแก้วอาจทำให้เกิดบาดแผลได้ การตัดเล็บควรซื้อกรรไกรตัดเล็บสุนัขโดยเฉพาะและควรตัดไม่ให้ลึกเกิดไปจนติดเนื้อหรือเรียกว่าควรตัดลบความคมของเล็บก็ได้
7. อวัยวะเพศ จำเป็นต้องตรวจดูเครื่องเพศของสุนัขเราเป็นประจำในตัวผู้นั้นเราจะพบว่ามีน้ำเมือกข้นเป็นครีมสีขาวปนเหลือง ติดที่ปลายอวัยวะเพศประจำ อย่าเข้าใจผิดคิดว่าสุนัขจะเป็นโรคผู้หญิงที่เราชอบล้อกัน นี่เป็นลักษณะปกติของสุนัขตัวผู้ ในเพศเมียนั้นถ้าเครื่องเพศบวมและมีน้ำเลือดออกมาแสดงว่าสุนัขเป็นสัด จะพบว่ามีสุนัขตัวผู้มาติดพันและถ้าเราขังไว้ตัวเมียเป็นสัด จะมีอาการร้องเรียกหาตัวผู้ด้วย โรคที่สำคัญพบในบ้านเราถ้าเป็นสุนัขที่เดินในท้องถนนคือ เนื้องอกที่อวัยวะเพศเป็นทั้งตัวผู้และตัวเมีย ให้สังเกตอาการระยะต้นๆ จะพบว่ามีน้ำเลือดใสๆ หยดบนพื้นบ้านให้เราเห็นผิดสังเกต ถ้าจับดูอวัยวะเพศผู้จะพบมีอาการบวมๆ เมื่อเราปลิ้นดูอาจพบว่ามีก้อนเนื้อรอบๆ ที่เครื่องเพศ ในตัวเมียก็เช่นกัน ถ้าพบน้ำเลือดหยดตามพื้นบ้าน โดยสุนัขไม่อยู่ระหว่างเป็นสัด ก็ควรเปิดดูเนื้องอกที่อวัยวะเพศหรือให้สัตวแพทย์ตรวจ เนื้องอกนี้มีการติดต่อระหว่างเพศผู้และเพศเมียในการผสมพันธุ์กัน จึงต้องระวังในการปล่อยสุนัขออกไปตามถนนอาจติดโรคนี้มาได้เช่นกันเนื้องอกนี้ทางสัตวแพทย์จะรักษาได้สองวิธีได้ สองวิธีก็คือการจี้เอาออกหรือฉีดยารักษาโรคมะเร็ง โดยนำสารที่ใช้ในคน นำมาใช้กับโรคเนื้องอก
8. การตรวจอุจจาระ ปกติสุนัขทุกตัวจะถ่ายออกมามีลักษณะแข็ง ถ้าหากเราพบว่าอุจาระเหลวต้องดูว่าเราได้อาหารอะไรกิน การอุจาระเหลวจะขึ้นกับอาหารได้ แต่ถ้าอุจาระเหลวประจำ บางครั้งไม่ถ่ายเป็นน้ำ จะเรียกว่าผิดปกติได้ โดยเกิดจาก การมีพยาธิในลำไส้เป็นส่วนใหญ่ ผู้เลี้ยงควรเก็บอุจาระใหม่ๆ ใส่ตลับแล้วนำมาส่งให้สัตวแพทย์ควรหาไข่พยาธิจะได้ทราบชนิดของไข่พยาธิที่สำคัญๆ มี 2 ชนิด คือ พยาธิตัวกลม และพยาธิปากขอในลูกสุนัขจะพบได้ทั้ง 2 ชนิด ส่วนสุนัขมีอายุแล้วจะพบพยาธิปากขอเป็นส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้พยาธิตัวตืดพบได้น้อย เราจึงค่อยถ่ายพยาธิปีละ 2-3 ครั้ง และควรนำอุจาระไปให้สัตวแพทย์ตรวจก่อนแล้วจึงรีบมาถ่ายพยาธิการซื้อยามาถ่ายเองอาจไม่ตรงกับชนิดของพยาธิได้และบางครั้งเราให้ขยาดยาไม่พอพยาธิก็ไม่ออกหรืออกไม่หมดการตัดเลือกลูกสุนัข
ลูกสุนัขบางแก้วเมื่อเกิดมาแล้วต้องให้แม่เลี้ยงอยู่ไม่ต่ำกว่า 45 วัน จึงขายออกไปหรือพรากลูกสุนัขให้ผู้อื่นเลี้ยง เราต้องสังเกตลูกสุนัขที่เราเลี้ยงอยู่ในคอกหนึ่ง เช่น ลูกสุนัขเกิดมามี 6 ตัว เราต้องสังเกตทุกตัวและต้องดูว่าเราเลี้ยงไว้ทำพันธุ์กี่ตัวเป็นเพศผู้หรือเพศเมียโดยให้คอยดูไปเรื่อยๆ และให้สังเกตดังนี้
1. ใบหน้าให้ดูตรงๆ และให้สังเกตดูจมูก ต้องมีสีดำและมีสีดำรอบขอบปากทั้งสองข้าง สีของใบหน้าต้องสมดุลกันทั้งสองข้าง ซ้ายและขวาปกติแล้วจะดูสีน้ำตาลหรือสีดำบนใบหน้าต้องเท่ากันทั้งซีกซ้ายและขวา เราต้องคัดไว้ก่อน ดูฟัน ตรวจดูฟัน โดยขากรรไกรล่างและบนต้องขบกันพอดี จึงจะเป็นลักษณะขากรรไกรที่ถูกต้อง ดูใบหูโยปกติแล้ว สุนัขบางแก้วจะเป็นสุนัขหูเล็ก เป็นรูปสามเหลี่ยมดั้งป้องไปข้างหน้า เราต้องคอยสังเกตดูลูกสุนัขว่าหูตั้งเมื่อไร หูตั้งยากไหม ถ้าเป็นสุนัขหูใหญ่ใบหูจะตั้งช้าตัวอื่นใบหูตั้งหมดแล้ว ตัวไหนหูใหญ่จะยังไม่ตั้ง บางตัวต้องคอยตามหูให้ตั้ง ลักษณะใบหูตั้งช้าไม่ควรคัดไว้ทำพันธุ์ จึงควรจะคัดสุนัขหูตั้งไว้เท่านั้น
2. นิ้วต้องครบ คือ ขาหน้าจะมีนิ้วเท้าข้างละ 5 นิ้ว ขาหลังมีข้างละ 4 นิ้ว ถ้าขาหน้ามี 5 นิ้ว และขาหลัง 5 นิ้ว เขาเรียกว่าสุนัข 10 นิ้ว ให้คัดออก ไม่ใช้ทำพันธุ์ แต่คนไทยโบราณบอกว่าสุนัข 10 นิ้วดีให้เลี้ยงไว้ ในเรื่องนี้เราไม่เชื่อเลย ถ้าเราจะเลี้ยงไว้ทำพันธุ์หรือเลี้ยงเข้าประกวด เป็นกติกาสากลเลยว่า ถ้าหากมีนิ้วเกินให้คัดออก และสุนัขนิ้วเกินนี้จะถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ จึงเลี้ยงไว้ทำพันธุ์ไม่ได้
3. หัวนม ถ้าจะเลือกตัวเมียไว้เลี้ยง หรือเข้าประกวดต้องดู หัวนมทั้งสองข้างต้องได้ระเบียบ ระยะห่างหัวนมแต่ละหัวต้องเท่ากัน และหัวนมทั้งสองแถวซ้ายและขวาต้องตรงกัน และต้องมี 3 คู่ขึ้นไป โดยปกติจะมี 3-4 คู่ ถ้ามี 5 คู่ยิ่งดี โดยปกติแม่สุนัขจะให้ลูกออกมาเท่ากับจำนวนหัวนม คือ ถ้ามีหัวนม 3 คู่ ต้องให้ลูกไม่เกิน 6 ตัว ดังนั้นถ้ามีหัวนมมากยิ่งดี และต้องเป็นคู่เป็นคี่ไม่ดี เพราะถ้ามีข้างหนึ่งมี 4 หัว อย่างนี้หัวนมจะไม่ตรงกัน
4. สีตามลำตัว ขณะที่เราเลี้ยงลูกสุนัข เราต้องดูสีลูกสุนัขไปด้วย จะเลี้ยงสีขาว-น้ำตาล หรือขาว-ดำ ก็ได้ เราต้องสังเกตดูสีขาว บนลำตัวทั้งสองข้างว่าสีขาวต้องมีมากไม่เกิน 50% หมายความว่า สีขาว-น้ำตาล
ประวัติความเป็นมา
ชนไก่ หรือ ตีไก่ เป็นที่นิยมเผยแพร่ในประเทศแถบเอเชีย ของเรามายาวนาน คือ ไทย พม่า ลาว เขมร มาเลเซีย ฟิลิปินส์ และอินโดเนียเซีย กีฬาชนไก่ได้แพร่หลายไปอีกหลายประเทศของโลก ประเทศสหรัฐอเมริกาก็มีการชนไก่เช่นกัน เชื่อกันว่า ไก่ชนคงพัฒนามาจาก “ไก่ป่า” ซึ่งมีคนนำมาเลี้ยงไว้เพื่อเป็นอาหารประจำบ้าน เมื่อไก่ป่ามาอยู่กับคนนานเข้าก็แพร่ลูกหลานเป็นจำนวนมาก
นิสัยของไก่ประจำตัวคือ หวงถิ่นที่อยู่ ถ้ามีตัวอื่นข้ามถิ่นมาก็จะออกไปปกป้องตีกันหรือเมื่อมีการแย่งผสมพันธุ์กับตัวเมียไก่ตัวผู้ก็จะตีกัน ซึ่งจะเริ่มหางไก่กันระหว่างเจ้าของไก่ จึงมีการพนันเกิดขึ้นด้วย นิสัยของคนไทยหรือนักเลงไก่ชนต้องการจะเอาชนะผู้อื่นจึงมีการพัฒนาไก่ป่าเรื่อยมาจนเป็น “ไก่อู” ซึ่งเป็นต้นตระกูลไก่ชนไทยสมัยแรกๆ ไก่อูมีหลายสีขนาดใหญ่ แต่รูปร่างปราดเปรียว ไข่ดก มีเนื้อมาก เมื่อนำมาเป็นไก่ชนจะทรหดอดทน แข็งแรงชนได้ดี ทนทานในการต่อสู้การผสมพันธุ์เพื่อพัฒนาไก่ชนให้ชนเก่ง นักเลงไก่ชน ต้องคัดเลือกศึกษาไก่ชนเก่ง ถึงมีลักษณะทั่วไป สีขน สร้อย โดยเฉพาะบริเวณแข้งและนิ้วเท้าจึงเกิดเป็นตำราไก่ชนบอกเล่าต่อๆกันมา เมื่อพ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้นมาก็ทำการบันทึกหลักฐานไว้ ดังนั้นตำราไก่ชนจึงไม่ได้สูญหายไปไหนมีการถ่ายทอดมาโดยตลอด และมีการเพิ่มเติมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
หนังสือไก่ชนของ เกรียงไกร ไทยอ่อน เขียนไว้ว่า ไก่ชนไทยพัฒนามากกว่า 50 ปี ปัจจุบันมีพันธุ์ไก่ชนเป็นจำนวนมาก ที่นักเลงไก่ชนได้ผสมพันธุ์ขึ้นมา เพื่อจุดประสงค์เดียวกันคือ ให้ได้ไก่เก่งเพื่อนำไปชนชนะไก่อื่นๆ แยกตามสีดังนี้ คือ ไก่เหลืองหางขาว ประดู่หางดำ เขียวเลา เทาทอง และไก่ลาย นักเลงไก่ชนหลายท่านบอกว่า ไก่ชนสมัยแรกๆ นั้น มีอยู่ 2 พันธุ์ คือ ประดู่ไก่ป่า (ประดู่หางดำ) และไก่เหลืองหางขาว
จากหนังสือพระมหากษัตริย์ของ ประกอบ โชประการ (2519 : หน้า 208) วันหนึ่งได้มีการตีไก่ขึ้นระหว่างสมเด็จพระนเรศวรฯ กับไก่ของมังชัยสิงห์ราชนัดดา (ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระมหาอุปราช) ไก่สมเด็จพระนเรศวรตีชนะมังชัยสิงห์ มังชัยสิงห์จึงขัดเคืองตรัสประชดประชันหยามหยันออกมาอย่างผู้ที่ถือดีว่ามีอำนาจเหนือกว่าว่า “ไก่เฉลยตัวนี้เก่งจริงหนอ” ถ้าไม่ใช่คนเหี้ยมหาญแกว่นกว้า ไม่ใช่คนสู้คนทุกสถานการณ์ก็คงจะได้แต่รับฟังหรือเจรจาโต้ตอบไปอย่างเจียมเนื้อเจียมตัว แต่สมเด็จพระนเรศวรไม่ใช่คนเช่นนั้น ทรงเป็นวีรขัติชาติที่ทรงสู้คนทุกสถานการณ์จึงโต้ตอบเป็นเชิงท้าอยู่ในทีว่า
“ไก่เชลยตัวนี้อย่าว่าแต่จะตีกันอย่างกีฬาในวังเหมือนอย่างวันนี้เลยตีพนันบ้านเมืองกันก็ยังได้”
พ.ต. พิทักษ์ บัวเปรม (ข้าราชการบำนาญ) ได้บันทึกไว้ว่าเมื่อปี 2500 ท่านได้อ่านตำราสมุดข่อย เชื่อแน่ว่าไก่ที่พระนเรศวรฯ ทรงนำไปชนกับพม่านั้นนำไปจาก “บ้านกร่าง” เดิมเรียกว่า “บ้านหัวแท” ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองพิษณุโลกไปทางทิศตะวันตกประมาณ 9 กิโลเมตร ความเห็นนี้ทางตรงกับการศึกษาของ พล.ต.ต. ผดุง สิงหเสนีย์ ด้วย “บ้านกร่าง” อำเภอเมืองพิษณุโลก แดนไก่ชนนเรศวร เป็นหมู่บ้านเก่าแก่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษไทยโบราณ ปัจจุบันพบซากปรักหักพังและวัดวาอารามเป็นจำนวนมาก เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต และมีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์มายาวนาน ผู้คนในหมู่บ้านยังสืบทอดขนบธรรมเนียม มาตั้งแต่บรรพบุรุษ คือมีงานเทศกาลต่างๆ ก็นัดชนไก่กัน ณ บ่อนไก่ชนประจำหมู่บ้าน
ที่มา
นิสิต ตั้งตระการพงษ์. (2533). หมาบางแก้ว. พิมพ์ครั้งที่ 2. พิษณุโลก : โรงพิมพ์ตระกูลไทย.
นิสิต ตั้งตระการพงษ์. (2546). หมาบางแก้ว สัตว์คู่บ้านเมืองสองแคว. พิษณุโลก :
โรงพิมพ์ตระกูลไทย.
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลก. (2548). สุนัขบางแก้ว OTOP มีชีวิตเมืองสองแคว. พิษณุโลก :
สำนักงาน.
สมาคมพัฒนาพันธุ์สุนัข(ประเทศไทย). (2565). สุนัขไทยบางแก้ว. https://kathailand.org/thaibangkaew/
สมุนไพรสำหรับไก่
สมุนไพรสำหรับเลี้ยงไก่ชน
ขมิ้นชัน
ชื่ออื่นๆ : ขมิ้นทอง / ขมิ้นไข / ขมิ้นดี / เข้ามิน / ขมิ้นป่า / ขมิ้นหัก / ขมิ้นหยวก /ขมิ้นแดง / ขี้มิน / ตายอ / พญาว่าน
ส่วนที่ใช้ : ลำต้นใต้ดินนำมาลวกน้ำร้อนหรือต้มกับน้ำเดือนแล้วนำมาตากแดดให้แห้งสนิท
ประโยชน์กับไก่ชน
1. นำผงขมิ้นมาผสมกับปูนแดงที่กินหมาก แล้วทาไปที่ผิวหนังของไก่ชนจะช่วยแก้โรคผิวหนังได้ ทำให้ผิวหนังหนาแดงสมบูรณ์ดี ทางผิวหนังและขนไก่ชนทั้งตัวจะป้องกันตัวเห็บและไรไก่ที่จะกินเลือดไก่ได้ ป้องกันผื่นคันตามผิวหนังได้
2. ไก่ชนเมื่ออกกำลังหรือเข้าชนไก่จะคออักเสบใช้ขมิ้นชันชุบด้วยขนไก่อ่อนๆ(หางพัด) ปั่นคอจะแก้เสมหะที่มีมากๆ ได้
3. ไก่ที่ผอมแห้ง ผอมเหลือง เป็นไข้เรื้อรัง ให้ขมิ้นกินลงไปจะแก้ได้และขับลมได้ด้วย แก้โรคท้องร่วงได้ดี
4. ไก่เจ็บตา ตาแดง ตาบวม ใช้หยอดตาจะทำให้หาย ถ้าไก่ชนถูกตีมาเป็นแผลใช้ผงขมิ้นชันผสมปูนแดงกินกับหมาก ทา 3-4 วัน ก็จะหาย
5. ใช้ดับกลิ่นและสิ่งสกปรกในตัวไก่ชน ไก่ชนที่จับมาไม่เคยอาบน้ำเลยจะมีกลิ่นสาบ ถ้าทาด้วยขมิ้นแล้วจะมีกลิ่นหอม
บอระเพ็ด
ชื่ออื่นๆ : จุ้งจาลิง(ภาคเหนือ) / เจตมูลย่าน (ภาคเหนือ) / เครือเขาช่อ(หนองคาย) / เครือกอฮอ
ส่วนที่ใช้ : บอระเพ็ดเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ เถาเป็นปุ่มขรุขระตลอดเถาลำต้นกลวง ใบกลมโต ปลายแหลม ปลูกง่ายโดยใช้เถาชำตามคบไม้ ดอกสีเหลืองเล็กๆ เป็นช่อตามเถา มีตามป่ารกร้างทั่วไป การนำมาใช้ได้ทั้งเถาและใบ
ประโยชน์กับไก่ชน
1. ต้นและเถาบอระเพ็ด มีสารรสขม เมื่อไก่ชนกินเข้าไปแล้ว จะช่วยให้การเจริญอาหาร แก้กระหายน้ำ แก้ไขมาลาเลีย ไข้ฝีดาษ ไข้ทุกชนิดและยังแก้ร้อนใน
2. เถาและใบลดน้ำตาลในเลือด ขับพยาธิไก่ชน ทำให้อาเจียนเมื่อกินสารพิษต่างๆ
3. รากและเถาบอระเพ็ดตำผสมกับมะขามเปียกและเกลือจะแก้ไขลดความร้อนในตัวไก่
4. เถาบอระเพ็ดผสมกับน้ำมะพร้าวให้ไก่กิน แก้โรคข้อบวมไก่ชนได้
ตำลึง
ส่วนที่ใช้ : เถาและใบ ตำลึงเป็นพืชจำพวกเถา ใช้เป็นอาหารประจำวันที่มีคุณค่าสูง ตำลึงทั้งเพศผู้และเพศเมียขึ้นอยู่ตามป่า เกาะตามต้นไม้ใหญ่ทั่วไป
ประโยชน์ที่ใช้กับไก่ชน
1. เถามีน้ำที่ช่วยให้ไก่เจ็บตาหายได้ โดยการนำเอาเถามาตัดเป็นท่อน แล้วเป่าน้ำในเถาใส่ตาไก่ วันละ 2-3 ครั้ง ตาไก่ที่เจ็บจะค่อยๆ หาย
2. ใบตำลึงนำมาตำแล้วไปพอกส่วนของบาดแผลของไก่ที่ถูกตี หรือถูกของแข็งตามตีนไก่หรือข้อขาไก่ จะช่วยถอนพิษอักเสบได้
3. น้ำในใบและเถาตำลึงให้ไก่กินจะช่วยกระเพาะไก่ที่อาหารย่อยการทดลองใช้น้ำตำลึงฉีดเข้าเส้นเลือดจะช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้เช่นเดียวกับฮอร์โมนอินซูลีน
4. รากตำลึงมีความเย็น ไก่กินแล้วจะช่วยแก้ไข้ตัวร้อน ถอนพิษไข้ดับพิษร้อนทั้งปวง
โรคของไก่
โรคของไก่ชน
1. แข้งผุ จะพบว่าที่เกล็ดแข้งไก่ทั้งตัวผู้และตัวเมียขยายตัวพองหน้าขึ้นสามารถแกะออกเป็นแผ่นๆ ลอกได้รอบแข้งโดยไม่มีเลือดออก
สาเหตุ เกิดจากหมัดชนิดหนึ่งฝังตัวที่เกล็ดแล้วเจริญเติบโตสามารถติดต่อไปยังตัวอื่นๆ ได้
การรักษา แกะเกล็ดออกให้หมด แล้วใช้น้ำยาที่ละลายฆ่าแมลง หรือฆ่าหมัดหาก็ได้ล้างเช็ดทุกวันก็หาย ถ้าไม่มียาเลยก็ล้างแข้งถูด้วยน้ำมันก๊าดให้หมัดตายก็หาย เมื่อพบว่าไก่เป็นในเล้า อาจมีหมัดหลุดไปติดต่อตัวอื่นๆ ให้ล้างเช็ดแข้งหรือเอาแข้งไก่แช่ในน้ำยาละลายฆ่าแมลงที่มีขายในท้องตลาดก็ได้
2. ปรวด จะพบก้อนแข็งที่ปาก คอ หน้าอก หรือลำตัว ขนาดเล็กจนถึงโตขนาด 1-2นิ้ว ถ้าพบว่าที่ปากจะส่งกลิ่นเหม็นส่วนตรงที่บวมแข็งที่ใบหน้าจะแดงเหมือนไก่ปกติแต่มักจะพบเฉพาะไก่ตัวผู้
สาเหตุ เกิดจากไก่ตีกันจนถูกแทงแผลลึก หรือถูกตีจนห้อเลือดทั้ง 2 อย่างนี้ ไม่สามารถรีดหรือเอาน้ำเลือดออดจนหมด ทำให้เชื้อเข้าไปเกิดเป็นหนองข้างในแผล หนองนี้ไม่ได้รับการผ่าออก จึงเกิดการรวมตัวเป็นก้อนแข็ง ไก่ที่เป็นปรวดนี้จะไม่แสดงอาการป่วย คือหงอยเหงา กลับแสดงอาการปกติ
การรักษา มีวิธีเดียวคือ ผ่าเอาออก จะพบว่ามีก้อนหนอง ต้องดึงออกให้หมดและต้องขุดแผลให้สะอาดไม่ให้มีเศษหนอง หรือเศษเนื้อเสียติดอยู่ แล้วล้างแผลให้สะอาดใส่ยาปฏิชีวนะล้างแผลทุกวันจนกว่าจะหาย
3. ขี้ติดก้น (ถ่ายไม่ออก) จะพบอาการไก่เบ่งถ่ายแล้วส่งเสียงร้อง แต่ถ่ายไม่ออก จะแสดงอาการอย่างนี้วันละหลายๆ ครั้ง ถ้าหากเจ้าของไก่ไม่ใส่ใจดูแล จะดูเหมือนว่าไก่ไม่ป่วยไม่เป็นอะไร แต่ถ้าสังเกตแล้วจับไก่มาดูจะพบว่ามีก้อนขี้ติดก้นถ่ายไม่ออก เป็นก้อนแข็งใช้ไม้แคะไม่ออก ถ้าปล่อยเอาไว้ไก่แสดงอาการเบ่งและส่งเสียงร้อง
สาเหตุ เกิดจากการให้อาหารหยาบมากเกินไป และให้น้ำกินน้อยไป อาหารหยาบดังกล่าว เช่น กินแต่ข้าวเปลือกอย่างเดียว การบดย่อยไม่หมดไม่แหลกมีกากมาก และแข็งประกอบกับกินน้ำน้อยทำให้ขี้แข็งถ่ายลำบากนานเข้าก็รวมกันเป็นก้อนแข็งใหญ่ติดก้นจนถ่ายไม่ออก
การรักษา ขั้นแรกต้องสวนทางก้นด้วยน้ำสบู่แล้วใช้ลูกยางดูดน้ำสบู่บีบเข้าไปล้างให้ก้อนขี้ยุ่ยหรือแตกออกมา เพราะความลื่นของน้ำสบู่หรือซื้อยาสวนทวารของคนมาบีบสวนเข้าไปขี้จะละลายหลุดออกมา เมื่อเอาขี้ออกมาแล้วต้องให้ไก่กินอาหารนิ่มแต่น้อยก่อน เช่น ข้าวสุก กล้วย และเม็ดทรายให้ไก่กินเพื่อไปช่วยย่อยที่กระเพาะบด(กึ้น)
4. หน่อ เป็นโรคที่ฝ่าเท้าไก่เป็นแผลเรื้อรังเดินแล้วเจ็บ บางครั้งพบเกิดการอักเสบทั้งข้อเท้า บางตัวเกิดที่ข้อนิ้วเท้าและฝ่าเท้าแล้วลามไปที่ข้อเท้า ถ้ายังไม่เรื้อรังจะพบฝ่าเท้าแล้วลามไปที่ข้อเท้า ถ้าเป็นเรื้อรังจะพบฝ่าเท้าเป็นแผลเก่าไก่จะเดินเขยก
สาเหตุ เกิดจากไก่เป็นรองช้ำที่ฝ่าเท้าเนื่องจากการเลี้ยงไก่ให้นอนที่คอนสูงตอนเช้าบินลงมาที่พื้นแข็งหรือให้ไก่ชนบินขึ้นลงๆมากๆ จึงเกิดรองช้ำที่ฝ่าเท้าเมื่อมีเชื้อเข้าไปจะเกิดการอักเสบทั้งข้อเท้าจนแผลแตกเป็นแผลเรื้อรัง
การรักษา ยังไม่มียารักษาหรือวิธีรักษาอย่างใดที่ได้ผลแน่นอนทั้งผ่าตัดทั้งจี้ก็ไม่หาย เพราะว่าเป็นการอักเสบที่เอ็นอุ้งเท้า การให้ยาปฏิชีวนะจะช่วยรักษาการอักเสบเท่านั้นที่ทำให้หายขาดแต่สามารถป้องกันได้โดยพื้นคอนไก่ชนต้องนิ่ม ถ้าไก่นอนสูงพื้นยิ่งต้องนิ่ม ยางรายใช้พื้นกำมะหยี่เก่าหมดสภาพ จะทำให้พื้นแข็ง จึงควรหมั่นทำความสะอาดด้วย สังเกตดูถ้าพบการรองช้ำระยะเริ่มต้นจะรักษาหายได้
5. โรคบิด พบได้เสมอตลอดทั้งปี จะพบไก่ขี้เป็นเลือด ถ่ายเหลวปนเลือดไก่จะตาย เนื่องจากถ่ายเป็นเลือดและลำไส้อักเสบ
สาเหตุ เกิดจากไก่กินน้ำไม่สะอาดมีเชื้อบิดเป็นตัวเข้าไปจะแสดงอาการในไก่ทุกอายุ คือถ่ายเหลวเป็นเลือด เนื่องจากลำไส้อักเสบ เมื่อไก่ตายผ่าดูจะพบว่าในส่วนของลำไส้เล็กหรือลำไส้ใหญ่และติ่งมีการอากรอักเสบแดง
การรักษา ต้องหาน้ำดื่มที่สะอาดให้ไก่กิน หากพบว่าไก่ถ่ายพยาธิเป็นเลือดสงสัยว่าจะเป็นโรคบิด ให้ใช้ยาซัลฟาละลายน้ำให้ไก่กิน หรือฉีดและรีบนำไก่ตายไปให้สัตว์แพทย์ตรวจอีกครั้งหนึ่ง
6. ขี้กลาก โดยปกติจะพบไก่ตัวผู้หลังจากการชนแล้ว ทำความสะอาดหน้าไม่ดีจะเกิดเชื้อรา ขึ้นบนใบหน้าและหัว เป็นสีขาว หรือปื้นใหญ่ๆ ทำให้ดูน่าเกลียด
สาเหตุ เกิดจากเชื้อราเป็นทั้งตัวผู้และตัวเมีย เกิดเป็นสีขาว ๆ เป็นผื่นขึ้นมาเป็นจุด ๆ ตามใบหน้าและหงอน
การักษา ใช้สำลีชุบยาฆ่าเชื้อราขาว ๆ ออกและทาด้วยขี้ผึ้งกำมะถันหรือจะใช้กำมะถันป่นผสมกับน้ำมันพืชให้ข้นทางทุกวันก็หาย
7. ตามบวมปิด อาการที่พบไก่ตาบวมปิดข้างเดียวหรือ 2 ข้าง ทำให้มองไม่เห็น กินอาหารไม่ได้ อาจอดอาหารตาย เปิดตาดูบางครั้งจะมีขี้ตาข้นสีขาว ๆ ปิดอยู่หรือมีน้ำตาไหลทำให้ไก่ต้องสะบัดหัวบ่อยๆ
สาเหตุ เกิดจากไก่เป็นโรคหวัด ปกติตรงหัวตาไก่จะมีท่อต่อลงมายังจมูกและลำคอ หากท่ออุดตันเชื้อหวัดจะขึ้นตา ทำให้มีน้ำตาไหลและตาบวมปิด
การรักษา เปิดตาแล้วใช้สำลีชุบน้ำยาฆ่าเชื้ออ่อนๆ ทำความสะอาดล้างตาเอาขี้ตาออกใช้ยาป้ายตาของคนทาก็ได้ อย่าให้ยาปฏิชีวนะกินให้ไก่ถูกลโกรก หนาวหรือร้อนจัดเกินไป
8. ไก่ไม่สบาย เหงา หน้าดำ ขี้ขาว กระเพาะอาหารเต็มไม่ย่อย
สาเหตุ เกิดจากการไก่เครียดจากการชนกัน จากฤดูที่เปลี่ยนแปลงทำให้เชื้ออหิวาต์ไก่กำเริบเป็นพิษขึ้นมา
การรักษา ปกติไก่ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์จะไม่ป่วยด้วยโรคนี้ การรักษาโรคนี้ต้องให้ยาซัลฟาหรือหมวดยาอื่น ๆ ก็ได้ ทั้งฉีดและกิน แต่ต้องรีดเอาอาหารในกระเพาะออกให้มากที่สุด โดยกรอกน้ำให้กินมาก ๆ แล้วจับไก่เอาตีนขึ้นชี้ฟ้าเอาหัวลงแล้วรีดเอาอาหารและน้ำออกทางปากให้ได้มากที่สุด ระหว่างการรักษาให้หยุดอาหารทั้งหมดให้กินยาละลายน้ำอย่างเดียว หรือจะให้ยาช่วยย่อยอาหารของคนให้กินจะช่วยรักษาให้รอดได้ เมื่อไก่อาการดีขึ้นให้กินกล้วยสุกหรือข้าวสุก เล็กน้อยแล้วค่อยเพิ่มขึ้นทุกวัน การฉีดวัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์ไก่จะเป็นการดีที่สุด
9. คอดอก โรคนี้จะพบว่าไก่ปากเหม็น น้ำลายเหม็น เมื่อเปิดปากดูจะพบว่าที่ลำคอจะมีแผ่นขาวๆ ติดอยู่ที่ผนังลำคอหรือเป็นวงกลมๆ เมื่อเอาสำลีเช็ดจะหลุดออก
สาเหตุ อาจจะเกิดจากเชื้อราทำให้มีแผ่นขาวๆ ติดอยู่หรืออาจจะเกิดจากฝีดาษคงคอ เพราะว่าฝีดาษเกิดตามใบหน้าของลูกไก่ แต่หากไก่ใหญ่เป็นโรคนี้จะเป็นที่คอ หรืออาจจะเกิดจากไก่ขาดวิตามินเอก็ได้ เพราะว่าการขาดวิตามินเอจะทำให้ผิวหนังลำคอหนาขึ้นมา
การรักษา ใช้ใช้สำลีเช็ดตรงผื่นขาวๆ ออก แล้วทาด้วยยาสีม่วง(เจนเตียนไวเลท) ถ้าเป็นเชื้อราต้องใช้ยากินรักษาเชื้อราให้น้ำมันตับปลาหรือผักสีเหลืองให้กินป้องกันขาดวิตามินเอก็ได้ เช่น มะละกอสุก เป็นต้น
10. พยาธิตาไก่ จะพบเห็นพยาธิอยู่ในตาไก่ วิ่งออกเร็ว ตามหัวทัน เปลือกตา ทำให้ไก่น้ำตาไหลหรือบวมได้
สาเหตุ เกิดจากพยาธิชนิดหนึ่งที่มีแมลงสาบเป็นพาหนะ คือไก่กินแมลงสาบจึงจะเป็นโรคนี้
การรักษา ควรให้การป้องกันไม่ให้ไก่กินแมลงสาบถ้าพบว่าตาไก่มีพยาธิอยู่ให้ใช้สำลีพันไม้เช็ดออก โดยหยอดยาล้างตาให้พยาธิลอยตัวแล้วเช็ดออกได้ง่าย
11. แข้งถก แข้งถกในไก่มักจะเป็นไก่ชนตัวผู้ เมื่อโตเต็มที่แล้ว โดยจะเริ่มเป็นแผลสดตกสะเก็ดเล็กๆ ตรงข้อพับของขา จะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ไก่จะแสดงอาการเจ็บปวด ไม่อยากเดิน ยืนยกขางอตรงข้อพับ ซึ่งปล่อยไว้ไก่อาจตายได้
การรักษา ใช้ยารักษาโดยเฉพาะ เช่น ยา FUMODI ทางตรงข้อพับเช้า-เย็น จะทำให้หนังตรงและเอ็นตรงข้อพับหย่อยตัว และแผลค่อยๆ หายไป แต่เป็นยาที่มีราคาแพงมาก ควรใช้ยาที่สามารถเตรียมเองได้ โดยมีวิธีการเตรียมดังนี้
เอากะลามะพร้าวที่เอาเนื้ออกมาแล้วกลั่นให้ได้น้ำมันของเนื้อกะลาแล้วทาตรงข้อพับวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เช่นกัน
วิธีกลั่น ใช้กะลามะพร้าว 2-3 ชิ้น มาจุดไฟให้ติดกะลาแล้วนำไปใส่ในโถหรือถ้วยเคลือบก็ได้ โดยลอกโถหรือถ้วยเคลือบในน้ำเย็น ให้กะลามะพร้าวไหม้จนเกือบหมดแล้วผาฝาปิด เพื่อให้ไฟดับเราจะได้น้ำมันตกไปที่ก้นถ้วยหรือโถจะไก้น้ำมันเล็กน้อย จึงอาจจะต้องทำบ่อยๆ จนได้ปริมาณพอตามต้องการ
12. กระดูกอกคด ไก่ชนที่มีอาการกระดูกคด เมื่อเข้าประกวดกรรมการจะคัดออกไม่มีการตัดสิน เหตุผลที่คัดออกไปเพราะเป็นไก่ที่ไม่สมบูรณ์ ผิดปกติจึงส่งผลต่อการออกชน ร่างกายจะอ่อนแอไม่แกร่งเพียงพอ
สาเหตุ ไก่กระดูกอกคด อันเนื่องมาจากกระดูกอ่อนเกิดจากไก่ขาดสารอาหารและวิตามิน ได้แก่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินดี เพราะสารอาหารเหล่านี้จะช่วยสร้างความแข็งแรงให้กระดูก จงอยปาก เล็บ เดือย เปลือกไข่ เป็นต้น ในแม่ไก่จะพบไข่เปลือกบาง ไข่นิ่ม ในลูกไก่จะทรงตัวไม่ดี เดินโซเซขนหยาบกร้าน บางตัวจงอยปากบิด เล็บบิดเบี้ยว กระดูกซีโครงอ่อนบิด เป็นปมที่รอยต่อกระดูกอ่อน ทำให้กระดูกหน้าอกคด ชาวบ้านเรียกว่า “ไก่หลังกุ่ง”
การรักษา เมื่อเกิดอาการกระดูกคดแล้ว คงยากที่จะรักษาให้หายขาดได้จึงควรเน้นการป้องกันมากกว่า โดยปล่อยให้ไก่หากินก่อนอาหารธรรมชาติเองบ้างแล้วเสริมด้วยพืชผัก ผลไม้ เช่น ใบกระถิน มะละกอ มะม่วงสุก ฯลฯ แต่หากได้กินพวกแมลงหรือสัตว์เลื้อยคลาน และปลา ก็จะทำให้ได้แคลเซียม แก้ปัญหากระดูกอ่อนคดได้
13. ลูกไก่ตีนขยุ้ม ปัญหาสำคัญของการเลี้ยงลูกไก่ชนในช่วงแรกเกิดจนถึง 2 เดือน มักจะพบอาการตีนขยุ้มของลูกไก่บางตัว เดินไม่ได้ ต้องนั่งบนข้อเข่า ใช้ปีกทั้งสองข้างพยุงตัว จึงถือผลผลิตลูกไก่ชนที่ได้ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน
สาเหตุ เกิดจากขาดวิตามินบี 2 หรือไรโบฟลาวิน ซึ่งพบได้โดยธรรมชาติในพืชผักสีเขียว หรือหญ้าสด ประโยชน์ของวิตามินบี 2 คือ ช่วยสร้างระบบน้ำย่อยในร่างกาย และช่วยระบบการทำงานของปลายประสาทโดยเฉพาะช่วงลูกไก่กำลังเจริญเตอบโต
การรักษา การป้องกันเป็นวิธีที่ดีที่สุด ถ้าพบลูกไก่ตีนขยุ้ม ควรให้วิตามินบี 2 ซึ่งอาจรวมอยู่ในวิตามินบีรวม เมื่อนำมาให้ลูกไก่ป่วยกินจะมีผลตอบสนองภายใน 2-3 วัน ให้ซ้ำหลายๆ ครั้งจะได้หาย ในแม่ไก่ชน ควรหาหญ้าสีเขียวให้ไก่กินบ้าง ใบกระถินบ้าง โดยเฉพาะการเลี้ยงขังยิ่งมีความจำเป็นอย่างมากจึงควรให้วิตามินบีรวมแก่แม่ไก่ชนก่อนผสมพันธุ์กินเป็นประจำ จะทำให้ลูกไก่ที่เกิดมาแข็งแรงสมบูรณ์ไม่มีอาการตีนขยุ้ม
14. หมัดหน้าไก่ เป็นชื่อรวมๆ ซึ่งหมัดที่เกาะหน้าไก่บางครั้งอาจพบมากที่หงอนก็เรียก หมัดหงอนไก่ ถ้าพบมากที่เหนียง เรียกหมัดเหนียงไก่ หรือที่ตา เรียกหมัดตาไก่ เป็นต้น ไม่ว่าหมัดจะเกิดขึ้นบริเวณใดล้วนแต่สร้างความรำคาญและเกิดผลเสียต่อสุขภาพร่างกายไก่ทั้งนั้น เพราะหมัดดูเลือดจากหน้าไก่จนทำให้ลูกไก่ตายได้
สาเหตุ เกิดจากตัวหมัดเกาตัวแน่นบริเวณหงอน เหนียง หรือรอบๆ ตาโดยหมัดมีวงจรชีวิตจากไข่ไปสู่ตัวโตเต็มวัยประมาณ 1 เดือน หมัดแต่ละตัวสามารถไข่ได้ถึง 500 ฟอง ภายใน 1 – 2 สัปดาห์ จะออกเป็นตัว
การรักษา เมื่อเราทราบวงจรชีวิตของหมัดแล้วจะทำให้เรากำจัดและป้องกันได้ง่ายขึ้น แต่การป้องกันจะง่ายและดีกว่า ถ้าเลี้ยงไก่ในคอกโรงเรือนที่สะอาด แห้งไม่มีการหมักหมมของขี้ไก่ ต้องคอยกำจัดขยะมูลฝอยรอบๆ คอกหรือโรงเรือน
ส่วนการรักษาต้องระมัดระวังการใช้ยา เพราะอาจเข้าตาหรือไหลเข้าปากจนเป็นอันตรายถึงชีวิต ในลูกไก่อาจใช้ยากำจัดหมัดของสุนัขและแมวเคาะตามตัวไก่จนใบหน้าจะทำให้หมัดตายได้ โดยไม่เป็นอันตรายต่อลูกไก่ ในไก่ใหญ่อาจใช้ยาละลายน้ำอาบ หรือเช็ดตามใบหน้า โดยเลือกยาที่ไม่เป็นอันตรายต่อไก่ เช่น มาลาไทอ่อน เป็นต้น ส่วนบริเวณพื้นคอกจะต้องฉีดพ่นเพื่อทำลายตัวอ่อน หรือตัวแก่ที่หลงเหลืออยู่ในหมัดจนหมดไปจากคอก หรือโรงเรือน