Print preview Close

Showing 77 results

Archival description
Print preview Hierarchy View:

37 results with digital objects Show results with digital objects

พ.ศ. 2503

พ.ศ. 2503 โรงเรียนฝึกหัดครูพิบูลสงคราม ยกฐานะเป็น “วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม” พร้อมเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) และเริ่มก่อสร้างโรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูพิบูลสงครามเพื่อเป็นสถานที่เพิ่มพูนประสบการณ์ทางวิชาชีพครู ซึ่งในปี พ.ศ. 2505 โรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูพิบูลสงครามได้รับอนุมัติให้เปิดสอนในระดับชั้นประถมศึกษา

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

พ.ศ. 2519

พ.ศ. 2519 สภาการฝึกหัดครูประกาศยกเลิกหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) วิทยาลัยครูพิบูลสงครามจึงจัดการศึกษา 2 ระดับ คือ ระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) และระดับปริญญาตรี โดยผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจะได้ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.เจริญผล สุวรรณโชติ ดำรงตำแหน่งอธิการ

พ.ศ. 2547 – 2548

พ.ศ. 2547 – 2548 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีอธิการบดีคนแรก คือ ดร.สว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์ และมีนายกสภามหาวิทยาลัยคนแรก คือ ร้อยตรีประพาส ลิมปะพันธุ์

พ.ศ. 2535

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 สำนักราชเลขาธิการ พระบรมมหาราชวัง ได้มีหนังสือแจ้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการว่า พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม “สถาบันราชภัฏ” แทนชื่อ “วิทยาลัยครู” และกรมการฝึกหัดครูได้ทำพิธีการรับพระราชทานนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2535

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

พ.ศ. 2464

พ.ศ. 2464 พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา 2464 ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 38 เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2464 ส่งผลให้โรงเรียนประจำมณฑลพิษณุโลก เพิ่มหลักสูตรประกาศนียบัตรประโยคครูมูล (ป) แก่นักเรียนชั้นมัธยม 5 และ 6 เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วสามารถเข้ารับราชการครูได้

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

พ.ศ. 2538

พ.ศ. 2538 สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. สถาบันราชภัฏ และได้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2538 โดยมีนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2538 ต่อมาวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทาน “ตราพระราชลัญจกร” ให้เป็นตราสัญลักษณ์ของสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏและสถาบันราชภัฏ 36 แห่ง และแต่ละแห่งมีการแบ่งส่วนราชการออกเป็นสำนักงานอธิการบดี บัณฑิตวิทยาลัย คณะ สำนัก และหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ จึงส่งผลให้มีการเปลี่ยนตำแหน่งผู้บริหารจากอธิการเป็นอธิการบดีที่ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งโดยคำแนะนำของคณะกรรมการสภาสถาบันราชภัฏ คือ ดร.สว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์ ดำรงตำแหน่งอธิการบดี (คนแรก)

พ.ศ. 2469

พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ได้เสด็จฯ มณฑลพิษณุโลก โดยได้ทรงเปิดอาคารเรียนโรงเรียนฝึกหัดครูประจำมณฑลพิษณุโลก พร้อมทั้งพระราชทานนามโรงเรียนว่า “โรงเรียนพิษณุวิทยายน” เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2469 และครูใหญ่โรงเรียนฝึกหัดครูประจำมณฑลคนแรก คือ นายโสภา ปาลบุตร ต่อมา พ.ศ. 2476 – 2477 จึงได้เพิ่มหลักสูตรประกาศนียบัตรประโยคครูจังหวัด (ว) หากสอบได้และศึกษาต่ออีก 1 ปี เมื่อสอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรประโยคครูมูล และสามารถบรรจุเข้ารับราชการครู

พ.ศ. 2549

พ.ศ. 2549 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีการพัฒนาอาคารสถานที่ทั้งส่วนวังจันทน์และส่วนทะเลแก้ว ซึ่งส่วนวังจันทน์เป็นคณะครุศาสตร์ โรงเรียนสาธิต สถาบันวิจัยและพัฒนา สำนักศิลปะและวัฒนธรรม บัณฑิตศึกษา ส่วนทะเลแก้วเป็นสำนักงานอธิการบดี คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากนี้ยังมีอาคารศูนย์ภาษาและคอมพิวเตอร์ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ศูนย์วิทยาศาสตร์ ศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (เวียงแก้ว) อาคารอเนกประสงค์และหอประชุมใหญ่ หอพักนักศึกษา (ทะเลแก้วนิเวศน์) ส่วนด้านการเรียนการสอนได้เริ่มปรับปรุงหลักสูตรของสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏให้เป็นหลักสูตรของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

พ.ศ. 2504

พ.ศ. 2504 ได้ยกฐานะเป็นวิทยาลัยครูพิบูลสงคราม เปิดการศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) มีอาจารย์ชิดชม กาญจนโชติ เป็นอาจารย์ใหญ่

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

พ.ศ. 2476

พ.ศ. 2476 โรงเรียนฝึกหัดครูประจำมณฑลพิษณุโลก “พิษณุวิทยายน” ซึ่งเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูชาย ย้ายไปตั้งที่บริเวณสระแก้ว ปัจจุบันคือที่ตั้งโรงพยาบาลพุทธชินราช และในปีเดียวกันกระทรวงธรรมการเปิดแผนกฝึกหัดครูหญิงในโรงเรียนสตรีประจำมณฑลพิษณุโลก ปัจจุบัน คือ โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรประโยคครูมูล (ป) และปี พ.ศ. 2477 เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรประโยคครูจังหวัด (ว) โดยมีครูใหญ่คนแรกชื่อ นางสาวสังวาลย์ ศุขโรจน์ ต่อมา พ.ศ. 2482 ได้ยุบโรงเรียนฝึกหัดครู “พิษณุวิทยายน” ให้นักเรียนครูชายไปเรียนที่โรงเรียนฝึกหัดครูจังหวัดอุตรดิตถ์

พ.ศ. 2550

พ.ศ. 2550 เริ่มใช้อาคารปฏิบัติการคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร อาคารปฏิบัติการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม อาคารเรียนรวม และสำนักงานอธิการบดี และใช้หลักสูตรปรับปรุงให้เป็นหลักสูตรของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามเป็นปีแรก เฉพาะนักศึกษาภาคปกติ ระดับปริญญาตรี จำนวน 28 หลักสูตร และขออนุมัติเปิดหลักสูตรใหม่ระดับปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร เพื่อเปิดสอนในปีการศึกษา 2551

พ.ศ. 2510

พ.ศ. 2510 กรมการฝึกหัดครูเร่งรัดการผลิตครู ส่งผลให้วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรครูประถม (ป.ป.) โดยรับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา 5 – 6 เข้าศึกษาต่อในหลักสูตรประกาศนียบัตรครูประถม (ป.ป.) อีก 1 ปี

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

พ.ศ. 2539-2540

พ.ศ. 2539 – 2540 ศูนย์วิทยบริการได้ย้ายจากส่วนวังจันทน์มาเปิดให้บริการที่ทะเลแก้ว และในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2539 สถาบันราชภัฏพิบูลสงครามได้เปลี่ยนการจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ (กศ.บป.) เป็นการจัดการศึกษาสำหรับปวงชนเพื่อปริญญา (กศ.ปป.) โดยเปิดสอนเป็นภาคเสาร์-อาทิตย์ สถาบันราชภัฏพิบูลสงครามได้จัดทำการออกแบบวางผังแม่บท โดยความร่วมมือของภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และสถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม จนได้ผังแม่บทการพัฒนาส่วนทะเลแก้ว ส่วนวังจันทน์ และส่วนสนามบิน พ.ศ. 2540 – 2570 เพื่อใช้ประกอบคำของบประมาณจากรัฐบาล ส่งผลให้ได้รับงบประมาณมาสร้างอาคารเพิ่มในบริเวณส่วนทะเลแก้ว ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง รองศาสตราจารย์ประวิตร ชูศิลป์ เป็นอธิการบดีสถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม

พ.ศ. 2486

พ.ศ. 2486 แยกแผนกฝึกหัดครูออกจากโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี ใช้ชื่อว่า “โรงเรียนฝึกหัดครูพิษณุโลก” สังกัดกรมวิสามัญศึกษา ในปี พ.ศ. 2497 กระทรวงศึกษาธิการได้ตั้งกรมการฝึกหัดครูขึ้น จึงโอนโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูพิษณุโลกไปสังกัดกรมการฝึกหัดครู และปรับปรุงหลักสูตรเป็นประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) โดยมีนางสาวประเยาว์ รังสิคุต เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี และรักษาการโรงเรียนฝึกหัดครูสตรี

พ.ศ. 2542

พ.ศ. 2542 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ทำให้สถาบันราชภัฏจำเป็นต้องเปลี่ยนสถานะให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้เตรียมการยกร่าง พระราชบัญญัติให้เป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยมีนามของสถาบันราชภัฏต่อท้ายชื่อมหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2511

พ.ศ. 2511 มีการเปลี่ยนตำแหน่งหัวหน้าสถานศึกษาจากอาจารย์ใหญ่เป็นผู้อำนวยการ และเป็นจุดเริ่มต้นที่วิทยาลัยครูพิบูลสงครามจะขยายพื้นที่สถานศึกษาสู่บริเวณส่วนทะเลแก้ว โดยมีอาจารย์ชิดชม กาญจนโชติ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

ยุคมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (2547 – 2564)

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลง พระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และพระราชทานถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 121 ตอนพิเศษ 23 ก. ลงวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ทำให้มหาวิทยาลัยราชภัฏแต่ละแห่งเป็นนิติบุคคล และเป็นส่วนราชการในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยสภามหาวิทยาลัยมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการทั่วไป กำหนดนโยบาย ออกกฎ ระเบียบ อนุมัติกำกับมาตรฐานการศึกษา พิจารณา แต่งตั้ง ถอดถอน สภาวิชาการ สภาคณาจารย์และข้าราชการ และคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 จึงมีการเปลี่ยนแปลงผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

พ.ศ. 2551

พ.ศ. 2551 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ดร.สว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์ ให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ต่ออีกวาระหนึ่ง มีผลตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551

พ.ศ. 2498

พ.ศ. 2498 รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี อนุมัติงบประมาณกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จำนวนห้าล้านบาท สร้างโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรีแห่งใหม่ในที่ดินราชพัสดุ เล่มที่ 7326 พื้นที่ 9 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา บริเวณส่วนวังจันทน์ปัจจุบัน แต่โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรีไม่ได้ย้ายมา ทางการจึงมอบอาคารใหม่ให้แก่โรงเรียนสตรีฝึกหัดครูเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2499 และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “โรงเรียนฝึกหัดครูพิบูลสงคราม” เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2499 ต่อมาเปิดสอนสหศึกษา ระดับประกาศนียบัตร วิชาการศึกษา (ป.กศ.) ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2500 โดยมีนางสาวประเยาว์ รังสิคุต เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดครูพิบูลสงครามคนแรก

พ.ศ. 2512

พ.ศ. 2512 วิทยาลัยครูพิบูลสงครามเปิดสอนภาคนอกเวลาเรียน (ภาคค่ำ) โดยรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา 5 หรือเทียบเท่า เข้าศึกษาต่ออีก 6 เดือน ในหลักสูตรประกาศนียบัตรครูประถม (ป.ป.)

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

พ.ศ. 2546

พ.ศ. 2546 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ดร.สว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์ เป็นอธิการบดีสถาบันราชภัฏพิบูลสงครามแทน รองศาสตราจารย์ประวิตร ชูศิลป์ ที่ครบวาระการดำรงตำแหน่งอธิการบดี

พ.ศ. 2551-2557

พ.ศ. 2551 – 2557 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีอาคารที่ใช้จัดการเรียนการสอน และบริหารจัดการส่วนวังจันทน์ ได้แก่ อาคารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ศูนย์วัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่าง วังจันทน์ริเวอร์วิว ส่วนทะเลแก้ว ได้แก่ อาคารกิจการนักศึกษา อาคารศูนย์กีฬาในร่ม อาคารคณะวิทยาการจัดการ อาคารหอสมุดอิเล็กทรอนิกส์ อาคารที่พักบุคลากรมหาวิทยาลัย อาคารเรียนรวมคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ส่วนสนามบิน ระยะเวลา 30 ปี (พ.ศ. 2540 – 2570) เพื่อใช้ประกอบคำของบประมาณจากรัฐบาล ส่งผลให้ได้รับงบประมาณมาสร้างอาคารเพิ่มในบริเวณส่วนทะเลแก้ว ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง รองศาสตราจารย์ประวิตร ชูศิลป์ เป็นอธิการบดีสถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม
เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้พระราชทานนามอาคาร 2 หลัง คือ อาคารหอประชุมศรีวชิรโชติ ทรงเสด็จพระราชดำเนิน ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ทรงประทานความหมายว่า “แสงสว่างแห่งนักปราชญ์ หรือนักปราชญ์ผู้สว่างไสวในปัญญา”
เมื่อวันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553 เวลา 17.13 น. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนิน ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ทรงเปิดอาคารหอประชุมศรีวชิรโชติ และอาคารทีปวิชญ์ โดย ดร.สว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นผู้กล่าวรายงาน
วันที่ 26 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2554 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคเหนือทั้ง 8 แห่ง ประจำปีการศึกษา 2552 – 2553 ณ หอประชุมศรีวชิรโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก
พ.ศ. 2555 – 2557 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้ปรับปรุงหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนที่ทันสมัย และตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก จำนวน 52 หลักสูตร
เมื่อวันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556 เปิดอาคารศูนย์วัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่าง วังจันทน์ ริเวอร์วิว และมีการประชุมใหญ่โครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษา ครั้งที่ 1 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ส่วนวังจันทน์ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2557 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ดำเนินการเปิดให้บริการอาคารหอสมุดอิเล็กทรอนิกส์อย่างเป็นทางการเพื่อให้บริการทรัพยากรสารสนเทศแก่นักศึกษาและบุคลากรทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

Results 1 to 26 of 77