
Showing 77 results
Archival description37 results with digital objects Show results with digital objects
- ARIT-PSRU-02-03
- Series
พ.ศ. 2510 กรมการฝึกหัดครูเร่งรัดการผลิตครู ส่งผลให้วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรครูประถม (ป.ป.) โดยรับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา 5 – 6 เข้าศึกษาต่อในหลักสูตรประกาศนียบัตรครูประถม (ป.ป.) อีก 1 ปี
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
- ARIT-PSRU-03-03
- Series
พ.ศ. 2539 – 2540 ศูนย์วิทยบริการได้ย้ายจากส่วนวังจันทน์มาเปิดให้บริการที่ทะเลแก้ว และในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2539 สถาบันราชภัฏพิบูลสงครามได้เปลี่ยนการจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ (กศ.บป.) เป็นการจัดการศึกษาสำหรับปวงชนเพื่อปริญญา (กศ.ปป.) โดยเปิดสอนเป็นภาคเสาร์-อาทิตย์ สถาบันราชภัฏพิบูลสงครามได้จัดทำการออกแบบวางผังแม่บท โดยความร่วมมือของภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และสถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม จนได้ผังแม่บทการพัฒนาส่วนทะเลแก้ว ส่วนวังจันทน์ และส่วนสนามบิน พ.ศ. 2540 – 2570 เพื่อใช้ประกอบคำของบประมาณจากรัฐบาล ส่งผลให้ได้รับงบประมาณมาสร้างอาคารเพิ่มในบริเวณส่วนทะเลแก้ว ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง รองศาสตราจารย์ประวิตร ชูศิลป์ เป็นอธิการบดีสถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม
- ARIT-PSRU-03-02
- Series
พ.ศ. 2538 สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. สถาบันราชภัฏ และได้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2538 โดยมีนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2538 ต่อมาวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทาน “ตราพระราชลัญจกร” ให้เป็นตราสัญลักษณ์ของสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏและสถาบันราชภัฏ 36 แห่ง และแต่ละแห่งมีการแบ่งส่วนราชการออกเป็นสำนักงานอธิการบดี บัณฑิตวิทยาลัย คณะ สำนัก และหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ จึงส่งผลให้มีการเปลี่ยนตำแหน่งผู้บริหารจากอธิการเป็นอธิการบดีที่ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งโดยคำแนะนำของคณะกรรมการสภาสถาบันราชภัฏ คือ ดร.สว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์ ดำรงตำแหน่งอธิการบดี (คนแรก)
- ARIT-PSRU-01-02
- Series
พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ได้เสด็จฯ มณฑลพิษณุโลก โดยได้ทรงเปิดอาคารเรียนโรงเรียนฝึกหัดครูประจำมณฑลพิษณุโลก พร้อมทั้งพระราชทานนามโรงเรียนว่า “โรงเรียนพิษณุวิทยายน” เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2469 และครูใหญ่โรงเรียนฝึกหัดครูประจำมณฑลคนแรก คือ นายโสภา ปาลบุตร ต่อมา พ.ศ. 2476 – 2477 จึงได้เพิ่มหลักสูตรประกาศนียบัตรประโยคครูจังหวัด (ว) หากสอบได้และศึกษาต่ออีก 1 ปี เมื่อสอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรประโยคครูมูล และสามารถบรรจุเข้ารับราชการครู
- ARIT-PSRU-04-02
- Series
พ.ศ. 2549 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีการพัฒนาอาคารสถานที่ทั้งส่วนวังจันทน์และส่วนทะเลแก้ว ซึ่งส่วนวังจันทน์เป็นคณะครุศาสตร์ โรงเรียนสาธิต สถาบันวิจัยและพัฒนา สำนักศิลปะและวัฒนธรรม บัณฑิตศึกษา ส่วนทะเลแก้วเป็นสำนักงานอธิการบดี คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากนี้ยังมีอาคารศูนย์ภาษาและคอมพิวเตอร์ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ศูนย์วิทยาศาสตร์ ศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (เวียงแก้ว) อาคารอเนกประสงค์และหอประชุมใหญ่ หอพักนักศึกษา (ทะเลแก้วนิเวศน์) ส่วนด้านการเรียนการสอนได้เริ่มปรับปรุงหลักสูตรของสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏให้เป็นหลักสูตรของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
- ARIT-PSRU-02-02
- Series
พ.ศ. 2504 ได้ยกฐานะเป็นวิทยาลัยครูพิบูลสงคราม เปิดการศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) มีอาจารย์ชิดชม กาญจนโชติ เป็นอาจารย์ใหญ่
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
- ARIT-PSRU-02-01
- Series
พ.ศ. 2503 โรงเรียนฝึกหัดครูพิบูลสงคราม ยกฐานะเป็น “วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม” พร้อมเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) และเริ่มก่อสร้างโรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูพิบูลสงครามเพื่อเป็นสถานที่เพิ่มพูนประสบการณ์ทางวิชาชีพครู ซึ่งในปี พ.ศ. 2505 โรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูพิบูลสงครามได้รับอนุมัติให้เปิดสอนในระดับชั้นประถมศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
- ARIT-PSRU-02-01
- Series
พ.ศ. 2519 สภาการฝึกหัดครูประกาศยกเลิกหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) วิทยาลัยครูพิบูลสงครามจึงจัดการศึกษา 2 ระดับ คือ ระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) และระดับปริญญาตรี โดยผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจะได้ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.เจริญผล สุวรรณโชติ ดำรงตำแหน่งอธิการ
- ARIT-PSRU-04-01
- Series
พ.ศ. 2547 – 2548 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีอธิการบดีคนแรก คือ ดร.สว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์ และมีนายกสภามหาวิทยาลัยคนแรก คือ ร้อยตรีประพาส ลิมปะพันธุ์
- ARIT-PSRU-03-01
- Series
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 สำนักราชเลขาธิการ พระบรมมหาราชวัง ได้มีหนังสือแจ้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการว่า พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม “สถาบันราชภัฏ” แทนชื่อ “วิทยาลัยครู” และกรมการฝึกหัดครูได้ทำพิธีการรับพระราชทานนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2535
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ยุคก่อตั้งพิบูลสงคราม (2464-2502)
- ARIT-PSRU-01
- Subfonds
- ARIT-PSRU-01-01
- Series
พ.ศ. 2464 พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา 2464 ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 38 เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2464 ส่งผลให้โรงเรียนประจำมณฑลพิษณุโลก เพิ่มหลักสูตรประกาศนียบัตรประโยคครูมูล (ป) แก่นักเรียนชั้นมัธยม 5 และ 6 เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วสามารถเข้ารับราชการครูได้
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
- File
- File
- File
- File
- File
- File
- File
- File
- File
- File
- File
- File
- « Previous
- 1
- 2
- 3
- Next »