Showing 77 results

Archival description
Print preview Hierarchy View:

37 results with digital objects Show results with digital objects

100 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

  • ARIT-PSRU
  • Fonds
  • 06-08-2566

“มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม” เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพทางวิชาการตรงตามมาตรฐานการผลิตบัณฑิต สามารถเปิดสอนทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 มาตรา 7 บัญญัติให้มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่เสริมพลังปัญญาของแผ่นดิน ฟื้นฟูพลังการเรียนรู้ เชิดชูภูมิปัญญาของท้องถิ่น สร้างสรรค์ศิลปวิทยาเพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนของปวงชน มีส่วนร่วมในการบำรุงรักษา ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล รวมระยะเวลา 100 ปี ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้พัฒนาการศึกษา การเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การผลิตครูและบัณฑิตนักปฏิบัติ สร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่สังคม น้อมนำคุณธรรมจริยธรรมตามแนวพระราชดำริ เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและสังคม สู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่องสืบไป (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2565, น.19-27)

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

พ.ศ. 2535

พ.ศ. 2535 รศ.ดร. มังกร ทองสุขดี มาดำรงตำแหน่งอธิการวิทยาลัยครูพิบูลสงคราม มีการย้ายคณะวิชาวิทยาการจัดการไปจัดการเรียนการสอนที่อาคารอเนกประสงค์ (เวียงแก้ว) เป็นปีแรก พร้อมทั้งเริ่มมีรถประจำทางวิ่งรับส่งนักศึกษาระหว่างวิทยาลัยครูพิบูลสงคราม ส่วนวังจันทน์ ถึงวิทยาลัยครูพิบูลสงคราม ส่วนทะเลแก้ว

พ.ศ. 2533-2534

พ.ศ. 2533 – 2534 มีการก่อสร้างวิทยาลัยครูพิบูลสงคราม ส่วนทะเลแก้วเพิ่มเติม ได้แก่ การสร้างอาคารอเนกประสงค์ (เวียงแก้ว) อาคารเรียนรวม (อาคารพระปกเกล้า) สนามบาสเกตบอล สนามวอลเลย์บอล สนามตะกร้อ และติดป้ายชื่อถนนในทะเลแก้ว โดยมี คณาจารย์ บุคลากรของวิทยาลัย และนักศึกษาร่วมกันปลูกต้นไม้ภายในวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2534 รองศาสตราจารย์ ดร.มังกร ทองสุขดี ดำรงตำแหน่งอธิการ

พ.ศ. 2532

พ.ศ. 2532 มีการก่อสร้างอาคารคณะวิชาเกษตรและอุตสาหกรรม อาคารหอนอน อาคารเลี้ยงไก่ สุกร โรงเรือนโคนม ศาลารัชมังคลาภิเษก พร้อมทั้งจัดปรับปรุงพื้นที่ทดลองการเกษตรก้าวหน้า “ฟาร์มวิทยาลัย” และในปีเดียวกันนี้ ได้ให้นักศึกษาภาคปกติบางส่วนเริ่มเรียนที่วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม ส่วนทะเลแก้ว

พ.ศ. 2531

พ.ศ. 2531 มีการทำแผนแม่บท พ.ศ. 2531 – 2540 เพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยโดยกำหนดแนวคิดให้วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม ส่วนวังจันทน์ เป็นที่ตั้งของคณะวิชาครุศาสตร์และโรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูพิบูลสงคราม ส่วนบริเวณทุ่งทะเลแก้วให้เป็นที่ตั้งของคณะวิชาอื่น ๆ พร้อมทั้งได้ดำเนินการให้เป็นไปตามแผนแม่บทที่วางไว้ ได้แก่ การก่อสร้างถนนภายในทุ่งทะเลแก้ว ปรับปรุงระบบไฟฟ้า ประปา และปลูกต้นไม้สองข้างทางเพิ่มเติม

พ.ศ. 2530

พ.ศ. 2530 ยกเลิกโครงการอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำการ (อคป.) โดยเปลี่ยนเป็นโครงการศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ (กศ.บป.) จัดการศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี เรียนในวันเสาร์และวันอาทิตย์

พ.ศ. 2527

พ.ศ. 2527 มีการแก้ไขพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู โดยกำหนดให้วิทยาลัยครูเป็นสถาบันการศึกษาและวิจัย มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาวิชาการสาขาครุศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และศิลปศาสตร์ ส่งผลให้วิทยาลัยครูพิบูลสงครามเปิดคณะวิชาเพิ่มรวมเป็น 5 คณะวิชา คือ ครุศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาการจัดการ เกษตรและอุตสาหกรรม รวมถึงมีสำนักงานอธิการและหน่วยงานเพื่อส่งเสริมวิชาการเกิดขึ้น

พ.ศ. 2525

พ.ศ. 2525 วิทยาลัยครูพิบูลสงครามส่วนทะเลแก้ว ได้จัดตั้ง “ศูนย์ขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผล งานสาธิตฝึกอบรม และส่งเสริมอาชีพราษฎรตามพระราชดำริหน่วยขยายพันธุ์ส้มโอ” และในปีเดียวกันนี้ได้เกิดอุบัติเหตุเครื่องบินกองทัพอากาศตกบริเวณอาคาร 1 ของโรงเรียนสาธิตพิบูลสงคราม ส่วนวังจันทน์ ทำให้อาคารเรียนได้รับความเสียหายบางส่วน และกองทัพอากาศได้จัดสรรงบประมาณในการสร้างอาคารโรงเรียนสาธิตหลังใหม่ที่ส่วนวังจันทน์ ใช้ชื่อว่า “อาคารอนุสรณ์”

พ.ศ. 2524

พ.ศ. 2524 วิทยาลัยครูพิบูลสงครามได้รับอนุมัติจากสำนักนายกรัฐมนตรีให้ใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์บริเวณทุ่งทะเลแก้ว จำนวน 1,000 ไร่ เพื่อเตรียมขยายพื้นที่สถานศึกษา โดยมีโครงการใช้ที่ดินระยะแรก 400 ไร่

พ.ศ. 2522

พ.ศ. 2522 เริ่มโครงการอบรมครูและบุคลากรการศึกษาประจำการ (อคป.) โดยเปิดอบรมบุคลากรการศึกษาประจำการในวันเสาร์และวันอาทิตย์ ทั้งระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) และปริญญาตรี

พ.ศ. 2564

พ.ศ. 2564 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุมพล เสมาขันธ์ ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนพิเศษ 34 ง 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 ประกาศ ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 แทน ดร.สาคร สร้อยสังวาลย์ ที่ครบวาระ
“มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม” เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพทางวิชาการตรงตามมาตรฐานการผลิตบัณฑิต สามารถเปิดสอนทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 มาตรา 7 บัญญัติให้มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่เสริมพลังปัญญาของแผ่นดิน ฟื้นฟูพลังการเรียนรู้ เชิดชูภูมิปัญญาของท้องถิ่น สร้างสรรค์ศิลปวิทยาเพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนของปวงชน มีส่วนร่วมในการบำรุงรักษา ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล รวมระยะเวลา 100 ปี ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้พัฒนาการศึกษา การเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การผลิตครูและบัณฑิตนักปฏิบัติ สร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่สังคม น้อมนำคุณธรรมจริยธรรมตามแนวพระราชดำริ เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและสังคม สู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่องสืบไป (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2565, น.19-27)

พ.ศ. 2517

พ.ศ. 2517 วิทยาลัยครูพิบูลสงครามเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีเอกภาษาไทย และต่อมาในปี พ.ศ. 2518 รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู โดยมีสภาการฝึกหัดครูทำหน้าที่กำหนดนโยบายควบคุมการบริหารงานในวิทยาลัยครูทั่วประเทศ พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อตำแหน่งหัวหน้าสถานศึกษาเป็นอธิการวิทยาลัยครู โดยการบริหารงานของ       วิทยาลัยฯ จัดเป็นคณะวิชาและสำนักหรือศูนย์ที่เทียบเท่าคณะวิชา

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

พ.ศ. 2501

พ.ศ. 2501 โรงเรียนฝึกหัดครูพิบูลสงครามขยายพื้นที่ โดยกรมการฝึกหัดครูซื้อกรรมสิทธิ์ที่ดินของโรงเรียนการช่างเพิ่มเติม 13 ไร่ 2 งาน 62 ตารางวา และได้เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) และประกาศนียบัตรชั้นสูง (ป.กศ.สูง) และต่อมา พ.ศ. 2502 ได้ซื้อที่ดินของกองทัพอากาศ จำนวน 120 ไร่ เรียกกันว่า “โรงเรียนฝึกหัดครูพิบูลสงคราม ส่วนสนามบิน”

พ.ศ. 2557

พ.ศ. 2557 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ดร.สาคร สร้อยสังวาลย์ ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 131 ตอนพิเศษ 227 ง 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ประกาศ ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 แทน ดร.สว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์ ที่ครบวาระ

พ.ศ. 2498

พ.ศ. 2498 รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี อนุมัติงบประมาณกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จำนวนห้าล้านบาท สร้างโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรีแห่งใหม่ในที่ดินราชพัสดุ เล่มที่ 7326 พื้นที่ 9 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา บริเวณส่วนวังจันทน์ปัจจุบัน แต่โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรีไม่ได้ย้ายมา ทางการจึงมอบอาคารใหม่ให้แก่โรงเรียนสตรีฝึกหัดครูเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2499 และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “โรงเรียนฝึกหัดครูพิบูลสงคราม” เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2499 ต่อมาเปิดสอนสหศึกษา ระดับประกาศนียบัตร วิชาการศึกษา (ป.กศ.) ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2500 โดยมีนางสาวประเยาว์ รังสิคุต เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดครูพิบูลสงครามคนแรก

พ.ศ. 2512

พ.ศ. 2512 วิทยาลัยครูพิบูลสงครามเปิดสอนภาคนอกเวลาเรียน (ภาคค่ำ) โดยรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา 5 หรือเทียบเท่า เข้าศึกษาต่ออีก 6 เดือน ในหลักสูตรประกาศนียบัตรครูประถม (ป.ป.)

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

พ.ศ. 2546

พ.ศ. 2546 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ดร.สว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์ เป็นอธิการบดีสถาบันราชภัฏพิบูลสงครามแทน รองศาสตราจารย์ประวิตร ชูศิลป์ ที่ครบวาระการดำรงตำแหน่งอธิการบดี

พ.ศ. 2551-2557

พ.ศ. 2551 – 2557 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีอาคารที่ใช้จัดการเรียนการสอน และบริหารจัดการส่วนวังจันทน์ ได้แก่ อาคารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ศูนย์วัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่าง วังจันทน์ริเวอร์วิว ส่วนทะเลแก้ว ได้แก่ อาคารกิจการนักศึกษา อาคารศูนย์กีฬาในร่ม อาคารคณะวิทยาการจัดการ อาคารหอสมุดอิเล็กทรอนิกส์ อาคารที่พักบุคลากรมหาวิทยาลัย อาคารเรียนรวมคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ส่วนสนามบิน ระยะเวลา 30 ปี (พ.ศ. 2540 – 2570) เพื่อใช้ประกอบคำของบประมาณจากรัฐบาล ส่งผลให้ได้รับงบประมาณมาสร้างอาคารเพิ่มในบริเวณส่วนทะเลแก้ว ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง รองศาสตราจารย์ประวิตร ชูศิลป์ เป็นอธิการบดีสถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม
เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้พระราชทานนามอาคาร 2 หลัง คือ อาคารหอประชุมศรีวชิรโชติ ทรงเสด็จพระราชดำเนิน ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ทรงประทานความหมายว่า “แสงสว่างแห่งนักปราชญ์ หรือนักปราชญ์ผู้สว่างไสวในปัญญา”
เมื่อวันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553 เวลา 17.13 น. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนิน ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ทรงเปิดอาคารหอประชุมศรีวชิรโชติ และอาคารทีปวิชญ์ โดย ดร.สว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นผู้กล่าวรายงาน
วันที่ 26 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2554 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคเหนือทั้ง 8 แห่ง ประจำปีการศึกษา 2552 – 2553 ณ หอประชุมศรีวชิรโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก
พ.ศ. 2555 – 2557 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้ปรับปรุงหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนที่ทันสมัย และตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก จำนวน 52 หลักสูตร
เมื่อวันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556 เปิดอาคารศูนย์วัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่าง วังจันทน์ ริเวอร์วิว และมีการประชุมใหญ่โครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษา ครั้งที่ 1 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ส่วนวังจันทน์ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2557 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ดำเนินการเปิดให้บริการอาคารหอสมุดอิเล็กทรอนิกส์อย่างเป็นทางการเพื่อให้บริการทรัพยากรสารสนเทศแก่นักศึกษาและบุคลากรทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2486

พ.ศ. 2486 แยกแผนกฝึกหัดครูออกจากโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี ใช้ชื่อว่า “โรงเรียนฝึกหัดครูพิษณุโลก” สังกัดกรมวิสามัญศึกษา ในปี พ.ศ. 2497 กระทรวงศึกษาธิการได้ตั้งกรมการฝึกหัดครูขึ้น จึงโอนโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูพิษณุโลกไปสังกัดกรมการฝึกหัดครู และปรับปรุงหลักสูตรเป็นประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) โดยมีนางสาวประเยาว์ รังสิคุต เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี และรักษาการโรงเรียนฝึกหัดครูสตรี

พ.ศ. 2542

พ.ศ. 2542 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ทำให้สถาบันราชภัฏจำเป็นต้องเปลี่ยนสถานะให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้เตรียมการยกร่าง พระราชบัญญัติให้เป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยมีนามของสถาบันราชภัฏต่อท้ายชื่อมหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2511

พ.ศ. 2511 มีการเปลี่ยนตำแหน่งหัวหน้าสถานศึกษาจากอาจารย์ใหญ่เป็นผู้อำนวยการ และเป็นจุดเริ่มต้นที่วิทยาลัยครูพิบูลสงครามจะขยายพื้นที่สถานศึกษาสู่บริเวณส่วนทะเลแก้ว โดยมีอาจารย์ชิดชม กาญจนโชติ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

ยุคมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (2547 – 2564)

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลง พระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และพระราชทานถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 121 ตอนพิเศษ 23 ก. ลงวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ทำให้มหาวิทยาลัยราชภัฏแต่ละแห่งเป็นนิติบุคคล และเป็นส่วนราชการในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยสภามหาวิทยาลัยมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการทั่วไป กำหนดนโยบาย ออกกฎ ระเบียบ อนุมัติกำกับมาตรฐานการศึกษา พิจารณา แต่งตั้ง ถอดถอน สภาวิชาการ สภาคณาจารย์และข้าราชการ และคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 จึงมีการเปลี่ยนแปลงผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

พ.ศ. 2551

พ.ศ. 2551 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ดร.สว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์ ให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ต่ออีกวาระหนึ่ง มีผลตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551

พ.ศ. 2476

พ.ศ. 2476 โรงเรียนฝึกหัดครูประจำมณฑลพิษณุโลก “พิษณุวิทยายน” ซึ่งเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูชาย ย้ายไปตั้งที่บริเวณสระแก้ว ปัจจุบันคือที่ตั้งโรงพยาบาลพุทธชินราช และในปีเดียวกันกระทรวงธรรมการเปิดแผนกฝึกหัดครูหญิงในโรงเรียนสตรีประจำมณฑลพิษณุโลก ปัจจุบัน คือ โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรประโยคครูมูล (ป) และปี พ.ศ. 2477 เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรประโยคครูจังหวัด (ว) โดยมีครูใหญ่คนแรกชื่อ นางสาวสังวาลย์ ศุขโรจน์ ต่อมา พ.ศ. 2482 ได้ยุบโรงเรียนฝึกหัดครู “พิษณุวิทยายน” ให้นักเรียนครูชายไปเรียนที่โรงเรียนฝึกหัดครูจังหวัดอุตรดิตถ์

พ.ศ. 2550

พ.ศ. 2550 เริ่มใช้อาคารปฏิบัติการคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร อาคารปฏิบัติการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม อาคารเรียนรวม และสำนักงานอธิการบดี และใช้หลักสูตรปรับปรุงให้เป็นหลักสูตรของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามเป็นปีแรก เฉพาะนักศึกษาภาคปกติ ระดับปริญญาตรี จำนวน 28 หลักสูตร และขออนุมัติเปิดหลักสูตรใหม่ระดับปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร เพื่อเปิดสอนในปีการศึกษา 2551

Results 1 to 26 of 77